ทานและเหตุแห่งการให้ทานในพระพุทธศาสนา SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 38
หน้าที่ 38 / 226

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงทานหรือการให้ในพระพุทธศาสนา ซึ่งจัดอยู่ในทิฏฐชุกัมม์ สามารถแบ่งเหตุผลของการให้ทานออกเป็นหลายประการ ตั้งแต่การให้เพราะความหวัง การให้เพื่อหลีกเลี่ยงความกลัว หรือการให้เพราะเห็นว่าทานเป็นความดี รวมถึงความเชื่อว่าการทำทานจะส่งผลต่อจิตใจของผู้ให้และผู้รับอย่างไร ที่มาของการทำทานยังแบ่งได้เป็นหลายประเภทตามคำสอนในพระสูตรต่างๆ เช่น ปฐมทานสูตร และทานวัตถุสูตร การเข้าใจในเหตุผลและการให้ทานจะช่วยเพิ่มพูนคุณธรรมในตัวบุคคลและส่งผลดีต่อสังคมได้.

หัวข้อประเด็น

- ความหมายของทาน
- เหตุผลในการให้ทาน
- ประเภทของการให้ทาน
- ผลดีของการทำทาน
- สอนจากพระพุทธเจ้าถึงการให้ทาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ส่วนทิฏฐชุกัมม์ (ข้อ 10) สามารถจัดเข้าได้ทั้งทาน ศีล และภาวนา ดังนั้น การทำทานหรือการให้ (ทานมัย) จึงจัดเป็นหนึ่งในวิธีการทำบุญ หรืออาจกล่าวได้ว่า การทำทาน เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดบุญขึ้นในใจของผู้ให้นั่นเอง 2.5 วัตถุประสงค์ของการให้ทาน เหตุที่ให้ทาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงเหตุที่ทำให้คนทำทานไว้หลายประการด้วยกัน เช่น ใน ปฐมทานสูตร ตรัสถึงเหตุที่บางคนให้ทานไว้ 8 ประการ คือ (1) บางคนให้ทานเพราะหวังอยากได้ (2) บางคนให้ทานเพราะความกลัว (3) บางคนให้ทานเพราะคิดว่าเขาเคยให้แก่เรามาก่อน (4) บางคนให้ทานเพราะคิดว่าเขาจะให้เราตอบแทน (5) บางคนให้ทานเพราะคิดว่าทานเป็นความดี (6) บางคนให้ทานเพราะคิดว่าเราหุงหากินได้ แต่คนเหล่านี้หุงหากินไม่ได้ การไม่ให้แก่คนเหล่านี้ เป็นสิ่งไม่สมควร (7) บางคนให้ทานเพราะคิดว่ากิตติศัพท์อันดีงามย่อมขจรขจายไป (8) บางคนให้ทานเพื่อยกระดับจิตใจให้ดีงาม มีคุณภาพสูงขึ้น ส่วนใน ทานวัตถุสูตร ตรัสถึงเหตุอีก 8 ประการ คือ (1) บางคนให้ทานเพราะชอบพอกัน (2) บางคนให้ทานเพราะความโกรธ (3) บางคนให้ทานเพราะความหลง หรือโง่ (4) บางคนให้ทานเพราะความกลัว (5) บางคนให้ทานเพราะนึกว่าบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย เคยให้มา เคยทำมา เราไม่ควรทำให้ เสียวงศ์ตระกูลดั้งเดิม (6) บางคนให้ทานเพราะคิดว่าเมื่อตายจะได้ไปสุคติโลกสวรรค์ (7) บางคนให้ทานเพราะคิดว่าจิตใจย่อมเลื่อมใส ความเบิกบานใจ ความดีใจ ย่อมเกิดขึ้นตามมา (8) บางคนให้ทานเพื่อยกระดับจิตใจให้ดีงาม มีคุณภาพสูงขึ้น 1 ปฐมทานสูตร, อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต, เล่มที่ 37 ข้อ 121 หน้า 472. ในสังคีติสูตร เป็น “ให้ทานเพราะมีปฏิคาหก (ผู้รับ) มาถึง” (สังคีติสูตร, ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค, เล่มที่ 16 ข้อ 345 หน้า 239.) ทานวัตถุสูตร, อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต, เล่มที่ 37 ข้อ 123 หน้า 475. บทที่ 2 ท า น คื อ อะไร DOU 27
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More