ข้อความต้นฉบับในหน้า
1. จักแสดงธรรมตามลำดับ ไม่ตัดวรรคถ้อยความ คือแสดงไปตามลำดับเรื่องราว ไม่วกวน
ไม่กระโดดข้ามขั้นตอน ลุ่มลึกไปตามลำดับจากง่ายไปยาก ซึ่งผู้จะทำเช่นนี้ได้ อย่างน้อยต้อง
1.1 มีความรู้จริงในเรื่องนั้น จนทราบว่าอะไรควรพูดก่อน อะไรควรพูดทีหลัง
1.2 มีวาทศิลป์ มีความสามารถในการพูด การถ่ายทอดเนื้อหาไปสู่ผู้ฟัง
1.3 มีการเตรียมการที่ดี คือมีแผน มีโครงเรื่องที่จะแสดงล่วงหน้า ไม่แสดงธรรมตามอำเภอใจ
2. จักแสดงโดยปริยาย อ้างเหตุผลให้ผู้ฟังเข้าใจ โดยผู้แสดงเองต้องเข้าใจเรื่องนั้นถึงขั้น
ทะลุปรุโปร่ง เมื่อแสดงต้องอ้างเหตุอ้างผล ยกตัวอย่างประกอบ แยกแยะให้เห็นได้ชัดเจนแจ่มแจ้ง
3. จักอาศัยความเอ็นดูแสดงธรรม คือมีความเมตตา ปรารถนาดีอย่างจริงใจต่อผู้ฟัง และมุ่ง
แสดงธรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ฟังอย่างเต็มที่ โดยไม่มีเจตนาอื่นแอบแฝง ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ใน จันทูปมสูตร ว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ ย่อมแสดง
ธรรมแก่ชนเหล่าอื่นว่า โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว
จึงเลื่อมใสซึ่งธรรม ผู้ที่เลื่อมใสแล้วเท่านั้นจะพึงทำอาการของผู้เลื่อมใสต่อเรา
ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล ไม่บริสุทธิ์
ส่วนภิกษุใดแลเป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ แสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่นว่า
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วเป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะ
พึงรู้เฉพาะตน โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้วจะพึงรู้
ทั่วถึงธรรม ก็แลครั้นรู้ทั่วถึงธรรมแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้
อาศัยความที่พระธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความ
กรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความอนุเคราะห์ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลายธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล บริสุทธิ์”
4. จักไม่เห็นแก่อามิส คือไม่แสดงธรรมเพราะหวังจะได้ลาภสักการะ ชื่อเสียง หรือคำสรรเสริญ
เยินยอใดๆ ไม่ว่าผู้ฟังจะมีจำนวนมาก หรือน้อยแค่ไหนก็แสดงธรรมไปด้วยใจเสมอกัน
จันทูปมสูตร, สังยุตตนิกาย นิทานวรรค, มก. เล่ม 26 ข้อ 472 หน้า 551-552
บทที่ 4 ธ ร ร ม ท า น
DOU 77