ความสัมพันธ์ของบุญและบารมีในพระพุทธศาสนา SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 30
หน้าที่ 30 / 226

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุญและบารมี โดยระบุว่าบารมีเกิดจากการสั่งสมบุญซึ่งเป็นผลจากการทำความดีอย่างต่อเนื่อง ดวงบุญจะกลั่นไปเป็นดวงบารมี ซึ่งจะนำไปสู่การตรัสรู้ในพระพุทธศาสนา การทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนาคือการสร้างบารมีที่สำคัญในการนำพาสรรพสัตว์เข้าสู่พระนิพพาน โดยมีตัวอย่างจากพระธรรมเทศนาของหลวงพ่อวัดปากน้ำที่ชี้ให้เห็นว่าการสร้างบารมีนั้นยากลำบากและต้องใช้ความพยายามอย่างมาก

หัวข้อประเด็น

-ความสัมพันธ์ของบุญกับบารมี
-การสั่งสมคุณงามความดี
-การตรัสรู้ในพระพุทธศาสนา
-การทำทานและรักษาศีล
-มรดกธรรมของหลวงพ่อวัดปากน้ำ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ความสัมพันธ์ของ “บุญ” กับ “บารมี” ในภาคปฏิบัติ อันเกิดจากการเห็นด้วยธรรมจักขุไว้ว่า บารมีนั้นเป็น “ดวง” ซึ่งกลั่นมาจากดวงบุญ ที่เกิดจากการสั่งสมคุณงามความดีอย่างต่อเนื่อง จากดวงบารมีก็กลั่นเป็น ดวงอุปบารมี และจากดวงอุปบารมีก็กลั่นเป็นดวงปรมัตถบารมี ดังปรากฏในพระธรรมเทศนาของท่านในเรื่อง “ของที่ได้โดยยาก” ดังนี้ “แต่ว่าบารมีหนึ่งๆ กว่าจะได้เป็นบารมีนะ ไม่ใช่เป็นของง่าย ทานบารมีเต็มดวงนะ ดวงบุญที่เกิดจากการบำเพ็ญทาน ได้เป็นดวงบุญ ดวงบุญใหญ่โตเล็กเท่าไรไม่ว่า สร้างไปเถอะ ทำไปเถอะ แล้วเอาดวงบุญนั้นมา กลั่นเป็นบารมี ดวงบุญมากลั่นเป็นบารมีนะ บุญมีคืบหนึ่ง เต็มเปี่ยมเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทีเดียว เอามากลั่น เป็นบารมีได้นิ้วเดียวเท่านั้นเอง กลมรอบตัวเท่านั้นแหละ กลั่นไปอย่างนี้แหละทุกบารมี ไปจนกว่าบารมีนั้นจะเต็มส่วน แล้วก็ บารมีที่จะเป็นอุปบารมี เอาบารมีนั่นแหละ คืบหนึ่งเต็มส่วน เอามากลั่นเป็น อุปบารมีได้นิ้วเดียว แล้วเอาอุปบารมีนั่นแหละคืบหนึ่ง กลมรอบตัว เอามากลั่นเป็น ปรมัตถบารมีได้นิ้วเดียว บารมีก็ดี อุปบารมีก็ดี ปรมัตถบารมีก็ดี วัดผ่าเส้นศูนย์กลางกลม รอบ ตัวทุกบารมีไป มีทั้ง 30 ทัศ จึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ยากนักเรื่องนี้ ยากนัก พระองค์จึงได้ทรงโปรดออกพระโอษฐ์ว่า พุทธุปปาโท จ ทุลุลโภ ความบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นของได้ยากดั่งนี้” ดังนั้น บุญเมื่อกระทำให้มากเข้าก็จะกลั่นเป็นบารมี หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง การทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนาก็คือการสร้างบารมีนั่นเองเป็นจุดเริ่มต้นในการสั่งสมบารมีเพื่อการตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นำพาสรรพสัตว์ทั้งหลายเข้าสู่ฝั่งแห่งพระนิพพานในที่สุด มรดกธรรมของหลวงพ่อวัดปากน้ำ (พระมงคลเทพมุนี), (กรุงเทพมหานคร : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จํากัด, 2539), หน้า 609-610. บ ท ที่ 1 ค ว า ม สั ม พั น ธ์ ข อ ง ม นุ ษ ย์ กั บ วิถี ชี วิ ต DOU 19
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More