ความสำคัญของศูนย์กลางกายในการเจริญภาวนา SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 192
หน้าที่ 192 / 226

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความสำคัญของศูนย์กลางกายในกระบวนการเจริญภาวนา การวางใจในทางที่ถูกต้องจะช่วยให้เกิดนิมิตที่ชัดเจน ไม่เกิดความสับสน และส่งเสริมการทำสมาธิที่มีประสิทธิภาพนอกจากนี้ยังระบุข้อเสียของการวางใจนอกตัวว่าทำให้เสียเวลา เสี่ยงต่อการเกิดนิมิตลวง และทำให้เกิดปัญญาน้อยในการฝึกวิปัสสนา ตามคำสอนของพระมงคลเทพมุนีแนะให้ตั้งใจไปที่ศูนย์กลางกายเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานอย่างถูกต้อง

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของศูนย์กลางกาย
-การฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
-แนวทางการเจริญวิปัสสนา
-ข้อผิดพลาดในการวางใจนอกตัว
-หลักการทำใจหยุดนิ่ง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ทั้งนี้ เพราะการเห็นนิมิตของผู้ที่วางใจไว้นอกตัวนั้น เห็นเหมือนใช้ไฟฉายส่องดูวัตถุในที่ไกล จึงอาจเกิดความผิดพลาดได้ง่าย เช่น ถ้าเราดูผลแตงโมผ่าซีกที่ตั้งไว้ไกลๆ โดยมองด้านที่ไม่ถูกผ่า ก็จะเห็น เป็นว่าแตงโมนั้นเต็มผลอยู่ เป็นต้น เนื่องจากว่าเอาใจไปตั้งไว้นอกตัวตั้งแต่แรกจนเคยชินนั่นเอง และถ้าหาก จะเจริญวิปัสสนาต่อไปก็เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะวิปัสสนาเป็นเรื่องของการพิจารณาภายในตัว ดังนั้น การฝึกสมาธินอกพระพุทธศาสนาจึงมีข้อเสียหลายประการ คือ 1) เสียเวลามาก เพราะหมดเวลาไปกับการลองผิดลองถูกในการปรับระยะของภาพ และขนาด ของภาพ ต้องใช้เวลานานกว่าภาพจะอยู่นิ่ง 2) เสี่ยงอันตราย เพราะมักจะเกิดนิมิตลวงขึ้นมาแทรกเสมอ 3) เกิดปัญญาน้อย เพราะยากแก่การฝึกในขั้นวิปัสสนาต่อไป ส่วนผู้ที่วางใจไว้ถูกที่ตั้งแต่เริ่มแรก คือที่ศูนย์กลางกาย เมื่อเห็นนิมิตแล้ว นิมิตนั้นก็จะนิ่งอยู่ที่กลาง กายไม่หายไปไหน ยิ่งทำใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วน นิมิตนั้นก็จะหายไปเอง แต่จะเกิดดวงกลมใสขึ้นมาแทนที่ เรียกว่า ดวงปฐมมรรค เป็นสภาวธรรมแรกที่เกิดจากการปฏิบัติตามหลักมัชฌิมาปฏิปทาได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ ซึ่งเป็นหนทางเบื้องต้นที่จะไปสู่พระนิพพาน 10.6 ความสำคัญของศูนย์กลางกาย ศูนย์กลางกายจึงมีความสำคัญมากในการเจริญภาวนา เพราะเป็นจุดศูนย์รวมในการรับรู้ทางใจ ทั้งหมด เมื่อนำใจไปตั้งไว้ตรงนี้แล้ว ใจจะเกิดความตั้งมั่นมากที่สุด ยากที่จะซัดส่ายไปไหน ทำให้ง่าย ต่อการทำสมาธิมากกว่าการวางใจไว้ในที่อื่นๆ ดังที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้แสดงพระธรรมเทศนาไว้ว่า “สำรวมใจดีแล้ว หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้จริงๆ นะ เขาทำกัน อย่างไร? ต้องทำใจให้หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ ที่เคยแสดงอยู่เสมอๆ เข้าสิบเข้าศูนย์ให้ดี ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่” มรดกธรรมของหลวงพ่อวัดปากน้ำ (พระมงคลเทพมุนี), (กรุงเทพมหานคร : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด, 2539), หน้า 746. มรดกธรรมของหลวงพ่อวัดปากน้ำ (พระมงคลเทพมุนี), (กรุงเทพมหานคร : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด, 2539), หน้า 126. บ ท ที่ 10 ส า ร ะ สำ คั ญ ข อ ง ก า ร เ จ ริ ญ ภาวนา DOU 181
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More