ข้อความต้นฉบับในหน้า
ทางโลกเป็นเครื่องตอบแทน ผู้ที่สามารถทำเช่นนี้ได้ ใจจะสะอาดบริสุทธิ์ เป็นสภาพใจที่มีกิเลสเบาบาง
กิเลสอาสวะเข้ามาบังคับบัญชาหรือครอบงำได้น้อย ใจมีพละกำลังมาก มีกำลังบุญมากเพียงพอที่จะ
ไปสู่ภพภูมิอันเป็นสุคติได้
ดังนั้น เราสามารถสรุปได้ว่า ทั้งทาน ศีล และภาวนา เป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนจะต้องทำ ถือว่า
เป็นงานของชีวิตที่จะส่งผลให้สามารถบรรลุเป้าหมายชีวิตทั้ง 2 ระดับ คือ ระดับต้นและระดับกลางได้ และผู้ที่
ตั้งใจประพฤติปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายบนดินได้ดีเพียงไร ก็ย่อมมีโอกาสบรรลุเป้าหมายบนฟ้าได้ดี
เพียงนั้นด้วย สำหรับผู้ที่ไม่บรรลุเป้าหมายบนดินนั้น เขาย่อมไม่สามารถที่จะบรรลุเป้าหมายบนฟ้าได้เลย
• เป้าหมายเหนือฟ้า
เป้าหมายชีวิตในระดับสูงที่สุด อาจเรียกได้ว่าเป้าหมายเหนือฟ้า เป็นเป้าหมายที่สูงกว่าเป้าหมาย
บนฟ้า ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งหวังความสุขในภพเบื้องหน้า เป้าหมายเหนือฟ้านี้มุ่งไปที่ความหลุดพ้นจาก
ทุกข์ ปราศจากกิเลสทั้งปวง หลุดพ้นจากสังสารวัฏ เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก
ถือได้ว่าเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา เป้าหมายระดับนี้มีปรากฏเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น
ไม่ปรากฏในคำสอนของศาสนาหรือลัทธิความเชื่ออื่นใดในโลกเลย
บุคคลผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร เห็นความจริงว่าการเกิดนั้นเป็นทุกข์ ไม่ได้เป็นเครื่องหมายแห่งความ
สุขอย่างที่หลายๆ คนเข้าใจ ยิ่งเกิดบ่อยก็ยิ่งประสบความทุกข์บ่อย ต่อเมื่อเข้าถึงพระนิพพานได้เมื่อไร จึง
จะสิ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ ว่า
“เราแสวงหาช่างผู้ทำเรือนคืออัตภาพ เมื่อไม่พบ ได้ท่องเที่ยวไปแล้ว สิ้น
สงสารนับด้วยชาติมิใช่น้อย ความเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ ดูก่อนช่างผู้ทำเรือนคือ
อัตภาพ เราพบท่านแล้ว ท่านจักทำเรือนคืออัตภาพของเราอีกไม่ได้ โครงบ้าน
ของท่านทั้งหมด เราทำลายแล้ว ยอดแห่งเรือนคืออวิชชา เรารื้อแล้ว จิตของ
เราถึงพระนิพพานแล้ว เราได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาทั้งหลายแล้ว”
เมื่อได้ศึกษาและเข้าใจถึงวงจรการเวียนว่ายตายเกิดของเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลายแล้ว ก็เกิดความ
เบื่อหน่ายในการเกิดจึงคิดว่าเมื่อการเกิดนำมาซึ่งความทุกข์เช่นนี้แล้ว ถ้าหากว่าไม่ต้องเกิดก็ไม่ต้องเป็นทุกข์
สรรพสิ่งทั้งหลายล้วนมี 2 ด้านที่ตรงข้ามกันเสมอ มีมืดก็มีสว่าง มีดำก็มีขาว มีหนาวก็มีร้อน ดังนั้น เมื่อมี
การเกิด ก็ต้องมีการไม่เกิด ผู้มีดวงปัญญายิ่งใหญ่ เมื่อคิดเช่นนี้ได้ ก็ลงมือศึกษาค้นคว้าหาวิธีการที่จะ
ทำให้วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้นั้นสำเร็จลุล่วงให้จงได้ บุคคลสำคัญประเภทนี้ พระพุทธศาสนาให้ชื่อว่า
*ทุกข์หมายถึง ทุกข์ประจำสังขาร คือ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย
* พรหมชาลสูตร อรรถกถาทีฆนิกาย สีลขันธวรรค, มก. เล่ม 11 หน้า 91.
ท
14 DOU บ ท ที่ 1 ค ว า ม สั ม พั น ธ์ ข อ ง ม นุ ษ ย์ กับ วิถี ชี วิ ต