สมุจเฉทวิรัติและองค์แห่งศีล SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 130
หน้าที่ 130 / 226

สรุปเนื้อหา

สมุจเฉทวิรัติ คือ การงดเว้นจากบาปอย่างเด็ดขาด โดยอริยเจ้าไม่มีการผิดศีลเพราะปราศจากกิเลส การรักษาศีลอาจเกิดความไม่สบายใจเมื่อพลาด แต่ควรเข้าใจข้อวินิจฉัยเกี่ยวกับศีล เพื่อรักษาศีลอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะการฆ่าสัตว์ ต้องมีองค์ 5 ซึ่งรวมถึงความตั้งใจและความพยายามในการฆ่า การเข้าใจในหลักธรรมเหล่านี้ช่วยให้การรักษาศีลไม่เป็นภาระและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น

หัวข้อประเด็น

-สมุจเฉทวิรัติ
-วิรัติของพระอริยเจ้า
-ความสำคัญของการรักษาศีล
-ข้อวินิจฉัยเกี่ยวกับศีล
-องค์ 5 ของการฆ่าสัตว์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

7.1.3 สมุจเฉทวิรัติ สมุจเฉทวิรัติ หรือ เสตุฆาตวิรัติ คือ การงดเว้นจากบาปได้อย่างเด็ดขาด เป็นวิรัติของพระ อริยเจ้า ซึ่งละกิเลส คือ ความโลภ โกรธ หลง ได้แล้ว เมื่อใจท่านปราศจากกิเลสที่เป็นเหตุให้ทำความชั่ว จึงไม่มีการผิดศีลอย่างแน่นอน จะเห็นว่า วิรัติ นั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะการกระทำใดๆ ก็ตาม หากปราศจากความตั้งใจมุ่งมั่น แล้ว การกระทำนั้นๆ ย่อมไม่หนักแน่นมั่นคง พร้อมจะแปรเปลี่ยนอยู่เรื่อยไป ดังนั้น แม้จะยังไม่ได้ทำความ ชั่วขึ้นก็ตาม แต่ถ้าหากไม่มีวิรัติ ก็ไม่จัดว่าเป็นการรักษาศีล 7.2 องค์แห่งศีล แม้ว่าเราจะตั้งใจรักษาศีลอย่างดี แต่ก็มีบางครั้งบางคราวที่เราอาจพลาดพลั้งเบียดเบียนชีวิตผู้อื่น โดยที่เราเองก็มิได้ตั้งใจ ซึ่งก็อาจเป็นไปเพราะความจำเป็นบางอย่าง หรืออาจเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ละ เหตุผลนั้นล้วนเป็นเหตุให้เราเกิดความไม่สบายใจ หรือเกิดความสงสัยขึ้นว่า การกระทำของเรา ผิดศีล หรือ ศีลขาดหรือไม่ และบางคนถึงกับเกิดความทุกข์ใจในการรักษาศีล ว่าเป็นเรื่องที่ยากเกินกว่าวิสัยของเรา หรือไม่ ซึ่งความจริงมิได้เป็นเช่นนั้นเลย เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถรักษาศีลอย่างถูกต้อง จึงมีความจำเป็นที่เราต้องศึกษา ข้อวินิจฉัยของศีลแต่ละข้อ ว่าการกระทำอย่างใดจึงถือว่าศีลขาด อย่างไรถือว่า ศีลทะลุ ศีลด่าง ศีลพร้อยซึ่งข้อวินิจฉัย มีดังต่อไปนี้ 7.2.1 การฆ่าสัตว์ • องค์แห่งการฆ่าสัตว์ การฆ่าสัตว์ต้องประกอบด้วยองค์ 5 คือ 1. สัตว์นั้นมีชีวิต 2. รู้อยู่ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต 3. มีจิตคิดจะฆ่าสัตว์นั้น 4. มีความพยายามฆ่าสัตว์นั้น 5. สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น การฆ่าอันประกอบด้วยองค์ 5 นี้ ไม่ว่าจะฆ่าเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่า หรือแม้แต่การยุยงให้สัตว์ ฆ่ากันเองจนกระทั่งตายไปข้างหนึ่งก็ตาม เช่น การจับไก่มาตีกัน จนกระทั่งไก่ตายไป หรือที่เรียกว่า ชนไก่ 1 สัมมาทิฏฐิสูตร, อรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่ม 17 หน้า 546. บทที่ 7 วิ ธี ก า ร รั ก ษ า ศีล DOU 119
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More