ประเภทของอนุโลมโจรกรรมและการประพฤติผิดในกาม SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 133
หน้าที่ 133 / 226

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อภิปรายเกี่ยวกับประเภทของอนุโลมโจรกรรม ซึ่งประกอบไปด้วยการสมโจร การปอกลอก และการรับสินบน นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับการลักทรัพย์ที่มีโทษขึ้นอยู่กับคุณค่าของทรัพย์สินและคุณสมบัติของเจ้าของทรัพย์ รวมถึงองค์ประกอบในการประพฤติผิดในกาม ที่ต้องมีหลักการต่างๆ ตามกฎหมาย เช่น หญิงหรือชายที่ไม่ควรละเมิด การมีจิตคิดเสพเมถุน และอื่นๆ การทำผิดในส่วนนี้มีผลกระทบต่อสังคมและกฎหมายอย่างมากโดยเฉพาะในกรณีที่เกี่ยวข้องกับหญิงที่ต้องห้ามตามกฎหมาย

หัวข้อประเด็น

-ประเภทของอนุโลมโจรกรรม
-การสมโจร
-การปอกลอก
-รับสินบน
-การลักทรัพย์
-การประพฤติผิดในกาม
-องค์แห่งการประพฤติผิดในกาม
-หญิงที่ต้องห้าม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

2. อนุโลมโจรกรรม มี 3 ประเภท ได้แก่ การสมโจร เป็นการสนับสนุนให้เกิดการโจรกรรม เช่น การรับซื้อของโจร การให้ที่พัก อาศัย ให้ข้าวให้น้ำแก่โจร - ปอกลอก เป็นการคบหาผู้อื่นด้วยหวังทรัพย์ พอเขาสิ้นทรัพย์ก็เลิกคบ เป็นการ ทำให้คนสิ้นเนื้อประดาตัว - รับสินบน เช่น การที่ข้าราชการยอมทำผิดหน้าที่ เพื่อรับสินบน 3. ฉายาโจรกรรม (การกระทำที่เข้าข่ายการลักขโมย) มี 2 ประการ ได้แก่ - ผลาญ คือ สร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมิได้มุ่งหวังจะเอาทรัพย์ของ ผู้อื่นมาเป็นของตน เช่น การวางเพลิง - หยิบฉวย คือ การถือทรัพย์ผู้อื่นมาด้วยความมักง่าย ถือวิสาสะ • การลักทรัพย์ มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ 1. คุณค่าของทรัพย์สินสิ่งของนั้น 2. คุณความดีของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์นั้น 3. ความพยายามในการลักทรัพย์นั้น 7.2.3 การประพฤติผิดในกาม • องค์แห่งการประพฤติผิดในกาม การประพฤติผิดในกามต้องประกอบด้วยองค์ 4' คือ 1. หญิงหรือชายที่ไม่ควรละเมิด 2. มีจิตคิดจะเสพเมถุน 3. ประกอบกิจในการเสพเมถุน 4. ยังอวัยวะเพศให้ถึงกัน • หญิงที่ต้องห้าม มี 3 จำพวก 1. หญิงมีสามี 2. หญิงที่อยู่ในความปกครองดูแลของบิดามารดาหรือญาติ 3. หญิงที่ประเพณีหวงห้าม เช่น หญิงที่กฎหมายหวงห้าม หญิงนักบวช อรรถกถาธรรมสังคณี จิตตุปปาทกัณฑ์, มก. เล่ม 75 หน้า 291. 122 DOU บทที่ 7 วิ ธี ก า ร รั ก ษ า ศีล
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More