ทาน คือ อะไร SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 35
หน้าที่ 35 / 226

สรุปเนื้อหา

บทนี้อธิบายความหมายของทานว่าคือการให้ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของชีวิตมนุษย์ การให้ทำให้เกิดการแบ่งปัน และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในสังคม พระพุทธศาสนาเน้นความสำคัญของการให้ว่าเป็นความดีที่ส่งเสริมคุณธรรมและช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต การทำทานเป็นจุดเริ่มต้นในการสั่งสมความดีในชีวิตและยังส่งผลให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในที่สุด การให้จึงเป็นหัวใจสำคัญของสังคมที่สันติสุขและความร่วมมือ.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของทาน
-การให้ในชีวิตมนุษย์
-การให้และความสัมพันธ์ในสังคม
-ทานในพระพุทธศาสนา
-คุณธรรมและการพัฒนาคุณภาพชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 2 ทาน คือ อะไร 2.1 ทานกับการดำเนินชีวิต ชีวิตมนุษย์เกิดมาพร้อมกับการให้ เริ่มตั้งแต่มีบิดามารดาเป็นผู้ให้ชีวิต เป็นผู้เลี้ยงดูให้เติบโตมา ให้ความรู้ ให้การศึกษาเล่าเรียน ให้สิ่งของมากมาย รวมทั้งให้ความรัก และการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี ในขณะที่ตัวบุตรเองก็เป็นผู้ที่ได้ให้กลับคืนไปเช่นกัน คือ เมื่อยังเล็กก็ให้ความเคารพเชื่อฟังบิดามารดา ครั้น เติบโตขึ้นมาก็ให้การเลี้ยงดูตอบแทน ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างกันด้วยการให้อย่างนี้ แต่ละคนยังต้องมีร่วม กับผู้อื่นไปพร้อมๆ กัน เช่นการให้ระหว่างพี่กับน้อง ครูอาจารย์กับนักเรียน เพื่อนกับเพื่อน เจ้านาย กับลูกน้อง เป็นต้น สังคมมนุษย์ทุกยุคทุกสมัย ล้วนอาศัยการให้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจคนในสังคมเอาไว้ด้วยกัน เพราะการให้ ทำให้เกิดการแบ่งปัน ผู้คนจึงอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ไม่ต้องเบียดเบียนเข่นฆ่าทำร้าย หรือจ้องทำลายซึ่งกันและกัน การให้ จึงเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทุกชีวิตจำเป็นต้องมี คำสอนในพระพุทธศาสนากล่าวว่า “ทาน” หรือ การให้ เป็นความดีที่เป็นสัมมาทิฏฐิเบื้องต้น (ความเห็นถูกหรือเข้าใจถูก) ของมนุษย์ทุกคน เพราะทั้งการให้ การแบ่งปัน หรือการสงเคราะห์ ล้วนเป็น คุณธรรมที่เกื้อกูลกันระหว่างชีวิตต่อชีวิต เป็นพื้นฐานความดี ที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มี ความเจริญก้าวหน้าต่อไป ยิ่งไปกว่านั้น ทาน ยังเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะรองรับการทำความดีอื่นๆ ที่จะตามมา ดังเช่น พระ สัมมาสัมพุทธเจ้าในครั้งยังสร้างบารมี กว่าพระองค์จะประสบความสำเร็จขั้นสูงสุดในชีวิตได้อย่างนี้ (การ ตรัสรู้ธรรม บรรลุมรรคผลนิพพาน) พระองค์ก็อาศัยการทำทานเป็นจุดเริ่มต้นของการสั่งสมความดีและ ทานที่สั่งสมดีแล้วย่อมอำนวยผลอย่างไม่มีประมาณเหมือนกัน ดังที่พระองค์ตรัสสอนไว้ใน ทานสูตร ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้ผลแห่งการจำแนกทาน เหมือนอย่างเรารู้ไซร้ สัตว์ทั้งหลายยังไม่ให้แล้วก็จะไม่พึงบริโภค อนึ่ง ความ ตระหนี่อันเป็นมลทิน จะไม่พึงครอบงำจิตของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่านั้นไม่พึง แบ่งคำข้าวคำหลังจากคำข้าวนั้นแล้วก็จะไม่พึงบริโภค ถ้าปฏิคาหก(ผู้รับทาน) ของสัตว์เหล่านั้นพึงมี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะสัตว์ทั้งหลาย ทานสูตร, ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ, มก. เล่ม 45 ข้อ 204 หน้า 168. 24 DOU บ ท ที่ 2 ท า น คื อ อะไร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More