ข้อความต้นฉบับในหน้า
นี้เป็นข้อบ่งชี้ให้เห็นถึงพุทธประสงค์ที่ว่า นอกจากเราจะต้องละเว้นจากความชั่ว หรือบาปอกุศล
ทั้งปวง และหมั่นสั่งสมความดี สร้างบุญบารมีโดยทั่วๆ ไปแล้ว ทุกคนยังมีหน้าที่ที่สำคัญสำหรับชีวิตอีก
อย่างหนึ่ง คือ การเจริญภาวนา ทำจิตของตนให้ผ่องใส ให้ห่างไกลจากกิเลสอาสวะต่างๆ ที่ทำให้ใจ
เศร้าหมองไม่ผ่องใสอีกด้วย
ภารกิจสำคัญที่ขาดไม่ได้นี้ ไม่ใช่แต่เพียงพุทธศาสนิกชนเท่านั้นที่พึงยึดถือเป็นข้อปฏิบัติ หากแต่
เป็นหน้าที่ของชาวโลกทุกคนจะพึงศึกษาทำความเข้าใจ และน้อมมาประพฤติปฏิบัติให้เกิดผลด้วย เพราะ
ไม่ว่าเราจะมีเชื้อชาติ ศาสนา หรือเผ่าพันธุ์ใดก็ตาม ล้วนแต่มีกิเลสอย่างเดียวกันนอนเนื่องอยู่ภายในใจ
ทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าเราจะรู้หรือไม่รู้เท่านั้นเอง
เราจะสังเกตได้ว่าในตัวเรานั้นมีทั้งด้านที่ดี และด้านที่ไม่ดี จึงทำให้เราไม่อาจแสดงความดีที่มีอยู่
ในตัวของเราออกมาได้ทั้งหมดตลอดเวลา บางครั้งเราก็เผลอแสดงความไม่ดีไม่งามให้ปรากฏออกมาบ้าง
นั่นก็เป็นเพราะว่ากิเลสที่ฝังอยู่ในใจของเรานั้น กำลังบังคับบัญชาให้เราไม่เป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง
ทั้งๆ ที่เราปรารถนาจะทำดี แต่ก็ไม่อาจทำได้ หรือแม้ทำได้ แต่ก็ทำได้ไม่สมบูรณ์ ดังนั้นหนทางที่จะแก้ไข
ก็คือการกำจัดกิเลสที่ฝังแน่นอยู่ภายในใจของเราให้หมดไป ซึ่งวิธีการที่ดีที่สุด ที่ปฏิบัติแล้วได้ผลจริง ก็คือ
การเจริญภาวนานั่นเอง
เมื่อเราได้ประพฤติปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์เช่นนี้แล้ว ย่อมได้รับความสุขเป็น
เครื่องตอบแทน ใจจะปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง มีความบริสุทธิ์ผ่องใสขึ้นมาแทน มิใช่เฉพาะ
ความสุขในภพชาติปัจจุบันที่เราเห็นนี้เท่านั้น แม้ละสังขารจากโลกนี้ไปแล้วก็ยังไปเสวยสุขอยู่ในทิพยวิมาน ณ
แดนสวรรค์ต่อไป เป็นความสุขอันเป็นทิพย์ที่ละเอียดประณีตยิ่งกว่าความสุขบนโลกมนุษย์นี้มากมายนัก
ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดรู้จิตของบุคคลบางคนในโลกนี้ผู้มีจิต
ผ่องใสด้วยจิตอย่างนี้แล้ว ถ้าในสมัยนี้ บุคคลนี้พึงทำกาละไซร้ เขาจึงเกิดในสวรรค์
เหมือนเชิญมาไว้ ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตของเขาผ่องใส ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุแห่งจิตผ่องใสแล สัตว์บางพวกในโลกนี้เมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์”
เพราะฉะนั้น อานุภาพแห่งใจที่มีความผ่องใสนั้น ไม่อาจจะนับจะประมาณได้ สามารถบันดาล
ความสุขและความสมปรารถนาได้เป็นอัศจรรย์
จิตตมายีสูตร, ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ, มก. เล่ม 45 ข้อ 199 หน้า 140.
บทที่ 11 วั ต ถุ ประสงค์ และ อานิสงส์ การเจริญภาวนา DOU 193