ความสำคัญของธรรมทานในการสืบทอดพระพุทธศาสนา SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 92
หน้าที่ 92 / 226

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้เน้นถึงความสำคัญของธรรมทานในการดำรงพระพุทธศาสนา โดยระบุถึงการศึกษา ธรรม ที่นำไปสู่การแสดงธรรมให้กับผู้อื่น เพื่อรักษาความเป็นอยู่ของศาสนา และยกตัวอย่าง 5 ประการที่ช่วยในการตั้งมั่นแห่งสัทธรรม นอกจากนี้ยังกล่าวถึงการที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นตัวอย่างของผู้ให้ธรรมทาน โดยพระองค์ต้องการให้พุทธบริษัทได้เรียนรู้และถ่ายทอดธรรมต่อไปเพื่อประโยชน์ต่อสรรพสัตว์

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของธรรมทาน
-การรักษาพระพุทธศาสนา
-การศึกษาและการถ่ายทอดธรรม
-ประการ 5 ที่ช่วยในการตั้งมั่นแห่งสัทธรรม
-ตัวอย่างจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ทรงจําไว้ไม่ได้ มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ ไม่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้ มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรม แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มีเป็น ส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่รู้ทั่วถึงอรรถ ไม่รู้ทั่วถึงธรรม แล้วปฏิบัติธรรมสมควร แก่ธรรม มากกว่าโดยแท้” 1 พวกเราทุกคนเป็นผู้มีโชคดีอย่างยิ่งที่ได้เกิดในประเทศที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง และคำสอน ของพระสัพพัญญูพุทธเจ้ายังมีผู้สืบทอดนำมาแสดงอยู่เสมอ แต่จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง หากผู้ที่ได้ศึกษา ธรรมนั้นหมั่นศึกษาศิลปะการถ่ายทอดธรรมะ และฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้สามารถแสดงธรรมได้ ซึ่งจะช่วย ดำรงพุทธศาสนาให้คงอยู่อย่างมั่นคงสืบไป เพราะผลของการแสดงธรรมนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อการดำรง คงอยู่ของศาสนา ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่เลอะเลือน ไม่เสื่อมสูญ แห่งสัทธรรม ธรรม 5 ประการเหล่านี้ คือ 1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม (เรียนรู้พระไตรปิฎก) 2. ภิกษุย่อมแสดงธรรมตามที่ฟังมา ตามที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร (ให้ธรรมทาน แก่คนจำนวนมาก) 3. ภิกษุย่อมบอกธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร (การสนทนาธรรมอย่างง่ายๆ) 4. ภิกษุย่อมสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร (อธิบายธรรมอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน) 5. ภิกษุย่อมตรึกตรอง เพ่งด้วยใจ ซึ่งพระสัทธรรมตามที่ได้ฟังและเล่าเรียนมา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร” ความสำคัญอีกประการหนึ่งของธรรมทาน คือ เป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ตลอด ระยะเวลาของการสร้างบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในภพชาติต่างๆ นั้น พระพุทธองค์ทรงเป็น ตัวอย่างของผู้ให้มาโดยตลอด ให้ตั้งแต่สิ่งที่เป็นอามิสทั้งหลาย จนกระทั่งเลือดเนื้อและชีวิต ท้ายที่สุด พระองค์ทรงให้ธรรมทาน คือ พุทธศาสนา และยังทรงปรารถนาให้พุทธบริษัททั้งหลาย ได้เรียนรู้ ปฏิบัติ และถ่ายทอดสืบต่อกันไป เพื่อให้เป็นประโยชน์กับสรรพสัตว์ทั้งหลายให้นานที่สุด ดังที่ทรงตรัสกับมาร อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต, เล่ม 33 ข้อ 205 หน้า 205. ท ที่ 4 บ ท ท 4 ธรรมทาน DOU 81
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More