ข้อความต้นฉบับในหน้า
ญาณทัสสนะของธรรมกาย จะมีความรู้ และความเห็นอย่างนี้เป็นปกติ คือ สิ่งใดที่ไม่เที่ยงก็เห็นว่าไม่เที่ยง
สิ่งใดเที่ยงก็เห็นว่าเที่ยง สิ่งใดเป็นสุขก็เห็นว่าเป็นสุข สิ่งใดเป็นทุกข์ก็เห็นว่าเป็นทุกข์ เห็นตลอดหมด ไม่ใช่
เห็นครึ่งๆ กลางๆ เพราะความรู้นั้นสมบูรณ์แล้ว
11.2.4 ได้นิโรธสมาบัติ
นิโรธสมาบัติจะบังเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์เมื่อใจร่อนจากกิเลสอาสวะทั้งมวล กิเลสทั้ง 3 ตระกูล
ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง จะหลุดร่อนไปหมด สังโยชน์เบื้องต่ำ และเบื้องสูงจะหลุดหมด ใจใส
กระจ่างสว่างเต็มเปี่ยม ใจไม่มีอะไรเหนี่ยวรั้งเลย
นิโรธ แปลว่า หยุด เป็นการหยุดที่แตกต่างจากทางโลก คือ หยุดแล้วไป หยุดแล้วเคลื่อนเข้าไปสู่
ภายใน ไปสู่แหล่งแห่งบรมสุขยิ่งๆ ขึ้นไป ขอบข่ายของธรรมจักขุ และญาณทัสสนะก็จะขยายกว้างออกไป
อีก ความรู้และความเห็นก็จะขยายกว้างยิ่งขึ้นกว่าเดิม
11.2.5 ได้ภพอันวิเศษ คือ อายตนนิพพาน
อายตนนิพพานเป็นภพที่วิเศษยิ่งไปกว่าภพทั้งปวง ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด มีแต่ผู้รู้ ผู้ตื่น
ผู้เบิกบานแล้ว ผู้หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะที่ครอบงำทั้งปวง มีแต่ความบริสุทธิ์ล้วนๆ
11.3 ผู้เป็นต้นแบบในการเจริญภาวนา
การเจริญภาวนานั้น เป็นเรื่องที่อยู่ในวิสัยที่มนุษย์ทุกๆ คนพึงปฏิบัติได้ เมื่อตัดสินใจและได้ลงมือ
ปฏิบัติอย่างถูกหลักวิชชาแล้ว ย่อมได้รับผลแห่งการปฏิบัติทุกคน ไม่มียกเว้น เพียงแต่ว่าจะช้าหรือเร็วกว่า
กันเท่านั้น
ผู้ที่เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดในเรื่องนี้ ก็คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ยังเสวยพระชาติเป็น พระ
โพธิสัตว์ พระองค์สั่งสมบารมีทุกรูปแบบ แต่ที่สำคัญที่พระองค์ไม่เคยละทิ้งเลยก็คือ การฝึกใจให้สงบนิ่ง
มั่นคง พระองค์มีความเพียรในการทำเช่นนี้มาตลอดทุกภพทุกชาติ และในที่สุดผลแห่งความเพียรก็ ปรากฏ
ในวันที่พระองค์ประทับนั่ง ณ โพธิบัลลังก์ ดังหลักฐานที่ยกมาแสดงนี้ 2
1
พระโพธิสัตว์ทรงกระทำลำต้นโพธิ์ไว้เบื้องปฤษฎางค์หันพระพักตร์ไปทาง
ทิศตะวันออก ทรงมีพระมนัสมั่นคง ทรงนั่งคือปราชิตบัลลังก์ ซึ่งแม้ฟ้าจะ
ผ่าลงมาถึงร้อยครั้งก็ไม่แตกทำลาย โดยทรงอธิษฐานว่า
สรุปความจาก มรดกธรรมของหลวงพ่อวัดปากน้ำ (พระมงคลเทพมุนี),
(กรุงเทพมหานคร : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด, 2539), หน้า 11.
อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน, มก. เล่ม 70 หน้า 143.
บทที่ 11 วั ต ถุ ประสงค์ และ อานิสงส์ การเจริญภาวนา DOU 197