การเจริญภาวนา: วิปัสสนาและกรรมฐาน SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 188
หน้าที่ 188 / 226

สรุปเนื้อหา

การเจริญภาวนาประกอบด้วยถ้อยคำสำคัญ อนัตตะ วิปัสสนาที่มุ่งพัฒนาทักษะด้านปัญญาเพื่อปล่อยวางจากกิเลส โดยมีกรรมฐานเป็นการฝึกอบรมจิตเพื่อการบรรลุฌานและนิพพาน กรรมฐานแบ่งออกเป็นสมถะและวิปัสสนา รวมถึงวิธีการ เช่น กสิณและอสุภะ ซึ่งมุ่งเน้นในการฝึกจิตและเห็นความจริงของสังขาร

หัวข้อประเด็น

-อนัตตะ
-วิปัสสนา
-กรรมฐาน
-การฝึกจิต
-การเจริญปัญญา
-สมถกรรมฐาน
-อสุภกรรมฐาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อนัตตะ มีอรรถาธิบายแสดงไว้ว่า ธรรมชาติใดย่อมเห็นแจ้งในขันธ์ 5 โดยประการต่างๆ มี อนิจจะ ทุกขะ อสุภะ ฉะนั้นธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิปัสสนา วิปัสสนา มี 3 ประการ คือ 1) วิปัสสนาญาณที่มีการกำหนดรู้ในสังขารธรรม รูป นาม 2) วิปัสสนาญาณที่เป็นเหตุให้เข้าผลสมาบัติได้ 3) วิปัสสนาญาณที่เป็นเหตุให้เข้านิโรธสมาบัติได้ วิปัสสนาภาวนา ยังมีชื่อเรียกอีกนัยหนึ่งว่า ปัญญาภาวนา คือ การฝึกอบรมเจริญปัญญา ให้รู้เท่า ทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จนมีจิตใจเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสและความทุกข์ 10.5 คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่าภาวนา 1. กรรมฐาน 2. สมาธิ 10.5.1 กรรมฐาน กรรมฐาน หรือเขียนได้อีกอย่างหนึ่งว่า กัมมัฏฐาน มาจาก 2 บท คือ กมุม (การงาน) + ฐาน (ที่ ตั้ง) เมื่อรวมกันแล้ว แปลว่า ที่ตั้งแห่งการงาน, อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ, อุบายทางใจ วิธีฝึกอบรมจิต มีอรรถาธิบายแสดงไว้ว่า การเจริญภาวนาทั้ง 2 คือ สมถะและวิปัสสนา เป็นเหตุแห่งการ ได้บรรลุฌาน มรรค ผล นิพพาน ชื่อว่า กัมมัฏฐาน กรรมฐาน มี 2 อย่าง คือ 1. สมถกรรมฐาน คือ อุบายสงบใจ มี 40 วิธี ได้แก่ กสิณ 10 อสุภะ 10 อนุสสติ 10 พรหม วิหาร 4 อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1 จตุธาตุววัตถาน 1 และ อรูป 4 กสิณ หมายถึง วัตถุอันจูงใจให้เข้าไปผูกอยู่ ทำให้คุมใจได้มั่น จิตใจไม่ฟุ้งซ่านหรือซัดส่าย เช่น ปฐวีกสิณ ใช้ดินเป็นวัตถุในการผูกใจให้มั่น อสุภะ หมายถึง ความไม่สวยงาม มุ่งหมายถึงความเปลี่ยนแปลงของร่างกายของคนที่ตายไปแล้ว การเจริญอสุภกรรมฐาน คือ การพิจารณาซากศพในลักษณะต่างๆ กัน ให้เห็นความน่าเกลียด ไม่สวยงาม - พันตรี ป.หลงสมบุญ, พจนานุกรม มคธ-ไทย, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิธรรมกาย, 2546), หน้า 172. บทที่ 10 ส า ร ะ สำ คั ญ ข อ ง ก า ร เ จ ริ ญ ภ า ว น า DOU 177
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More