อานิสงส์การให้ทานและอสัปปุริสทาน SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 59
หน้าที่ 59 / 226

สรุปเนื้อหา

อินทกเทพบุตรแสดงให้เห็นว่าการถวายทานแก่องค์พระอรหันต์มีผลมากกว่าการทำทานทั่วไป การพิจารณาก่อนการให้ทานทำให้มีผลมากขึ้น เช่นเดียวกับการหว่านพืชในนาดี ขณะที่การให้ทานที่ไม่ได้คุณภาพจะส่งผลอานิสงส์น้อย โดยเฉพาะในการให้ทานของอสัตบุรุษที่แสดงถึงการให้ที่ไม่สมบูรณ์ นำไปสู่อานิสงส์ที่ต่ำลง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนว่า อสัปปุริสทานนั้นได้แก่การให้โดยไม่เคารพ การไม่ให้ด้วยมือของตนเอง และการให้ในลักษณะที่ไม่เหมาะสมซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อผลบุญที่ได้รับ

หัวข้อประเด็น

-อานิสงส์การให้ทาน
-อสัปปุริสทาน
-การพิจารณาก่อนการให้ทาน
-คุณภาพใจของผู้ให้
-ผลบุญที่เกิดจากการให้

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อินทกเทพบุตรนั้น เมื่อครั้งที่เป็นมนุษย์ ได้ถวายข้าวเพียงทัพพีเดียวแด่พระอนุรุทธ เถรผู้เป็นพระอรหันตสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุญนี้ย่อมมีผลมากกว่าทานที่อังกุรเทพบุตรทำแล้ว คือได้ก่อเตาไฟ หุงข้าวเป็นแถวยาว 12 โยชน์ ทุกวัน แก่โลกียมหาชนถึง 10,000 ปี ซึ่งเมื่ออินทกเทพบุตร กราบทูลแล้ว พระศาสดาจึงตรัสกับอังกุรเทพบุตรว่า “ธรรมดาการให้ทาน ควรพิจารณาแล้วจึงให้ทานนั้นย่อมมีผลมาก เหมือน การ หว่านพืชในนาดี แต่เธอหาได้ทำเช่นนั้นไม่ เหตุนั้นทานของเธอจึงมีผลไม่มาก ทานที่บุคคลให้แล้วในเขตใดมีผลมาก ควรพิจารณาให้ในเขตนั้น การให้ ด้วย พิจารณา พระตถาคตสรรเสริญ ทานที่ให้แล้วในทักขิไณยบุคคล ย่อมมีผลมาก เหมือนพืชที่บุคคลหว่านลงในนาดี ฉะนั้น” จากเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า ทานจะให้ผลไพบูลย์เมื่อได้ถวายแด่ผู้รับที่บริสุทธิ์ เป็นทักขิไณยบุคคล ผู้รับจึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้ทานนั้นเกิดประโยชน์สูงสุด 3.3 อาการของการให้ นอกจากองค์แห่งการให้ทานทั้ง 3 ประการดังกล่าวแล้ว ความคิดที่เป็นจิตเจตนาของผู้ให้ ซึ่งส่งผลไปสู่การกระทำทางกาย ที่เห็นได้จากกิริยาอาการที่แสดงออกมาในเวลาให้ทาน ก็มีความสำคัญมาก เช่นกัน เพราะนอกจากจะบ่งบอกถึงคุณภาพใจของผู้ให้แล้ว ยังมีผลกระทบต่ออานิสงส์ที่จะได้รับอีกด้วย 3.3.1 อสัปปุริสทาน “อสัปปุริสทาน” คือทานของอสัตบุรุษ (อสัตบุรุษ คือคนไม่ดี ไม่ฉลาดในการดำเนินชีวิต) อสัตบุรุษ เมื่อให้ทานก็ให้ด้วยวิธีการที่ไม่ดี ไม่ฉลาด การให้แบบนี้จึงเป็นการให้ที่ไม่สมบูรณ์ ตามธรรมดาคนที่ให้ทาน จะได้ผลบุญได้อานิสงส์ที่ดีงามตอบสนองทั้งในปัจจุบันนี้และอนาคตกาลข้างหน้า แต่ถ้าเป็นอสัปปุริสทานแล้ว การให้นั้นแทนที่จะได้บุญกุศลมาก ก็กลับได้น้อย (เหมือนคนค้าขายลงทุนลงแรงมาก แต่ทำไม่ดีไม่ฉลาด ผลกำไรจึงได้น้อย) หรือแทนที่บุญจะส่งผลที่ดีล้วนๆ ก็กลับได้ดีปนเสียมาด้วย ข้อนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ใน อสัปปุริสทานสูตร ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัปปุริสทาน 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน คือ อสัตบุรุษย่อมให้โดยไม่เคารพ 1 ไม่ให้ด้วยมือตนเอง 1 ไม่เห็นผลที่จะพึงมาถึงให้ 1 ให้โดยไม่อ่อนน้อม 1 ให้ของที่เป็นเดน 1 1 อสัปปุริสทานสูตร, อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต, มก. เล่ม 36 ข้อ 147 หน้า 312. 48 DOU บ ท ที่ 3 ก า ร ท า ท า น ที่ สมบูรณ์ แ บ บ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More