การพูดเท็จและการประพฤติผิดในกาม SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 134
หน้าที่ 134 / 226

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงชายที่ต้องห้ามในสองจำพวก ได้แก่ ชายที่ไม่ใช่สามีและชายที่ประเพณีหวงห้าม รวมถึงโทษของการประพฤติผิดในกามที่ขึ้นอยู่กับคุณความดีของผู้ที่ถูกละเมิด ความแรงของกิเลสและความเพียรพยายามในการทำผิด นอกจากนี้ยังพูดถึงองค์ 4 ที่ทำให้การพูดเท็จเกิดขึ้น พร้อมลักษณะการพูดเท็จ 7 ประการ เช่น การโกหก การสาบาน และการทำเล่ห์กระเท่ห์ เป็นต้น โดยสรุปว่าการพูดเท็จเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนและมีโทษตามบริบทและเจตนาของผู้พูด ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถเข้าถึงและศึกษาผ่าน www.dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-ชายที่ต้องห้าม
-การประพฤติผิดในกาม
-การพูดเท็จ
-องค์ของการพูดเท็จ
-ลักษณะการพูดเท็จ
-การพูดอนุโลมพูดเท็จ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

• ชายที่ต้องห้าม มี 2 จำพวก 1. ชายที่ไม่ใช่สามีของตน 2. ชายที่ประเพณีหวงห้าม เช่น นักบวช • การประพฤติผิดในกาม มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ 1. คุณความดีของผู้ที่ถูกละเมิด 2. ความแรงของกิเลส 3. ความเพียรพยายามในการประพฤติผิดในกามนั้น 7.2.4 การพูดเท็จ • องค์แห่งการพูดเท็จ การพูดเท็จต้องประกอบด้วยองค์ 4 คือ 1. เรื่องไม่จริง 2. มีจิตคิดจะพูดให้ผิดไปจากความจริง 3. พยายามที่จะพูดให้ผิดไปจากความจริง 4. คนฟังเข้าใจความที่พูดนั้น • ลักษณะของการพูดเท็จ การพูดเท็จ มี 7 ประการ คือ การพูดปด ได้แก่ การโกหก - การสาบาน ได้แก่ การทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อด้วยการสาบาน - การทำเล่ห์กระเท่ห์ ได้แก่ การอวดอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันไม่เป็นจริง - มารยา ได้แก่ การแสดงอาการให้เขาเห็นผิดจากที่เป็นจริง - ทำเลศ ได้แก่ การพูดเล่นสำนวน คลุมเครือ ให้คนฟังเข้าใจผิด พูดเสริมความ ได้แก่ การเสริมให้มากกว่าความเป็นจริง พูดอำความ ได้แก่ การตัดข้อความที่ไม่ประสงค์จะให้รู้ออกเสีย เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ที่คลาดเคลื่อน • การพูดอนุโลมการพูดเท็จ มี 2 ประการ คือ 1. อนุโลมพูดเท็จ คือ เรื่องที่ไม่จริง แต่พูดโดยมีเจตนาให้คนอื่นเชื่อถือ ได้แก่ - เสียดแทง เป็นการว่าผู้อื่นให้เจ็บใจ เช่น การประชด การด่า สับปลับ เป็นการพูดปดด้วยความคะนองปาก 1 อรรถกถาธรรมสังคณี จิตตุปปาทกัณฑ์, มก. เล่ม 75 หน้า 292. บทที่ 7 วิ ธี ก า ร รั ก ษ า ศีล DOU 123
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More