การเป็นมนุษย์และการสั่งสมบุญ SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 221
หน้าที่ 221 / 226

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับกระแสบาปอกุศลที่เข้ามาแทรกในจิตใจของมนุษย์ และความไม่แน่นอนของชีวิตที่กระตุ้นให้ต้องสั่งสมบุญเพื่อความสุขในโลกสวรรค์ แม้เราจะลืมอดีตชาติไป แต่ถ้าเรามีความคุ้นเคยกับการทำความดี และสั่งสมบุญให้เป็นนิสัย จะช่วยให้เราสามารถขจัดกิเลสได้ โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการไปถึงพระนิพพานผ่านการทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา

หัวข้อประเด็น

-กระแสบาป
-การสั่งสมบุญ
-ความไม่แน่นอนของชีวิต
-ความเกิดและอดีตชาติ
-การขจัดกิเลส
-มรรคผลนิพพาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3) กระแสบาปอกุศลที่เข้าแทรก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “บุคคลพึงรีบขวนขวายในความดี จึงห้ามจิตเสียจากบาป เพราะว่าเมื่อบุคคลทำความดีช้าอยู่ ใจจะยินดีในบาป” 1 ธรรมชาติของกระแสบาปมักจะเข้าแทรกในใจของมนุษย์เสมอเมื่อมีโอกาส หากไม่พยายามหา โอกาสคิด พูด หรือทำในเรื่องบุญแล้ว ใจมักจะเตลิดไปในเรื่องอกุศลได้ 4) ความไม่แน่นอนของชีวิต ปุถุชนคนธรรมดาไม่มีโอกาสรู้เลยว่า วาระสุดท้ายของชีวิตจะมาถึงเมื่อไร ดังนั้นเพื่อให้เกิดความ มั่นใจได้ว่า เมื่อละสังขารจากโลกนี้แล้ว จะมีสุคติโลกสวรรค์เป็นที่ไป จึงเป็นเหตุให้ต้องสั่งสมบุญบ่อยๆ ทำให้เป็นอาจิณกรรม จนติดเป็นนิสัย เมื่อถึงเวลาจะละโลกไปจริงๆ ใจที่คุ้นอยู่แต่กับบุญก็จะนำให้ไปสู่สุคติ มีความสุขในโลกสวรรค์ต่อไป 5) ความเกิดทำให้ลืมอดีตชาติ เมื่อเรากลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง ความทรงจำในอดีตชาติจะถูกลบเลือนไป ทำให้จดจำอะไร ไม่ได้เลย ต้องมาเริ่มเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างใหม่ ดังนั้นถ้าหากเราสั่งสมบุญให้บ่อยจนติดเป็นนิสัย ซึมซาบเป็น อันหนึ่งอันเดียวกับขันธสันดานแล้ว แม้เมื่อมาเกิดใหม่จะลืมอดีตก็ตาม ก็จะมีความคุ้นเคยกับความดี รักและ อยากจะทำความดี และจะพยายามขวนขวายในการสร้างบุญมากเป็นพิเศษ ดังมีตัวอย่างของพระโพธิสัตว์เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร เมื่อคลอดออกจากครรภ์ ของมารดา ก็เหยียดแขนออก พลางกล่าวว่า “ข้าแต่แม่ ในเรือนมีทรัพย์บ้างไหม ลูกจะให้ทาน” พระโพธิสัตว์ได้สั่งสมทานมาหลายภพหลายชาติจนติดเป็นนิสัยมีอัธยาศัยรักในการให้อยู่เสมอ แม้จะ เพียงเพิ่งคลอดออกจากครรภ์มารดาก็ตาม • เพื่อกำจัดอาสวกิเลส เป้าหมายสูงสุดของทุกๆ ชีวิต คือ พระนิพพาน ภารกิจนี้ถือว่าเป็นงานใหญ่ที่ต้องใช้เวลานานหลาย ภพหลายชาติ การจะไปถึงได้นั้น ต้องขจัดขัดเกลากิเลสที่ฝังแน่นอยู่ในใจให้หลุดร่อนไปให้หมด การจะ กำจัดกิเลสได้ก็ต้องอาศัยบุญ ดังนั้นที่เราทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ก็หวังเอาบุญเป็นที่ตั้ง เนื่องจากการจะบรรลุมรรคผลนิพพานนั้น ไม่สามารถกระทำให้สำเร็จได้ภายในชาติเดียว เพราะ ต้องอาศัยกำลังบารมีที่สั่งสมมามาก สมเด็จพระพุทธเจ้าประเภทปัญญาธิกะนี้ ต้องทรงสร้างบารมีมา ตั้งแต่ 1 ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปาปวรรค, มก. เล่ม 42 ข้อ 19 หน้า 1. 2 อรรถกถาขุททกนิกาย ชาดก, มก. เล่ม 55 หน้า 89. 210 DOU บท ที่ 12 ท า น ศีล ภ า ว นา คื อ บ ท ส รุ ป ข อ ง วิถี ชี วิ ต
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More