ข้อความต้นฉบับในหน้า
กุศลธรรมทั้งมวลจะตั้งอยู่ได้เพราะอาศัยความไม่ประมาท แต่เมื่อใดเกิดประมาทเสียแล้ว กุศลก็
ไม่สามารถตั้งอยู่ได้ การดื่มสุราเป็นทางมาแห่งความประมาท เมื่อประมาทก็ได้ชื่อว่าตั้งอยู่ในอกุศล
ทั้งหลาย สามารถกระทำความชั่วได้ทุกอย่าง ไม่สามารถรักษาความดี หรือความปกติของมนุษย์ไว้ได้เลย
ดังนั้น เพื่อที่จะรักษาความเป็นปกติของมนุษย์ทั้งสี่ข้อที่ผ่านมา ก็ต้องไม่ดื่มสุราเมรัย อันเป็นที่
ตั้งแห่งความประมาท และด้วยเหตุนี้เองจึงเกิดศีลข้อที่ 5 ว่า สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี
งดเว้นจากการดื่มสุราเมรัย อันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ศีล 5 มาจากสามัญสำนึกของมนุษย์ที่รู้ว่า เมื่อเรามีความรักตนเอง ปรารถนาความสุข ความ
ปลอดภัยให้กับตนเอง ชีวิตอื่นย่อมมีความรู้สึกเช่นเดียวกันกับเรา
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนให้คิดพิจารณา โดยเริ่มต้นที่ความรู้สึกของเราว่า การเบียดเบียน
ใดๆ อันเป็นสิ่งที่เราไม่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นกระทำต่อเรา สิ่งนั้นผู้อื่นก็ย่อมไม่ปรารถนาให้เรากระทำต่อเขา
เช่นกัน
ส่วนในยุคสมัยที่ไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาบังเกิดขึ้นนั้น ศีล 5 ก็เป็นมนุษยธรรม ที่มีอยู่ตาม
ธรรมชาติของมนุษย์ ดังปรากฏใน อัคคัญญสูตร และ จักกวัตติสูตร มีความโดยสรุปว่า
ปัญหาสังคมของมนุษย์มีอยู่ตลอดกาล แม้ในยุคสมัยที่โลกพรั่งพร้อมด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารอัน
ประณีตสมบูรณ์ มนุษย์ได้ดำรงชีวิตอย่างสุขสบาย แต่ด้วยเหตุที่มนุษย์มีความแตกต่างกัน เริ่มจากเรื่อง
ของผิวพรรณวรรณะ บางพวกมีผิวพรรณงาม บางพวกผิวพรรณไม่งาม จึงทำให้เกิดการแบ่งชนชั้น
เกิดความหยิ่งทะนง และดูหมิ่นกัน ความเสื่อมทรามของสภาพจิตใจที่เกิดขึ้น จึงส่งผลให้สิ่งแวดล้อมและ
บรรยากาศเสื่อมลง
เมื่อบรรยากาศของโลกไม่น่ารื่นรมย์เช่นนี้ ทรัพยากรซึ่งเคยมีอยู่อย่างบริบูรณ์จึงลดลงทั้ง
ปริมาณและคุณภาพ อาหารที่ประณีต กลับเสื่อมสูญไป กลายเป็นมีอาหารหยาบมาแทนที่ ยิ่งเกิดการ
จับจองครอบครองทรัพยากรอันมีจำกัดนั้นอย่างเห็นแก่ตัว เกิดการลักขโมย การลงโทษ การทำร้าย
เบียดเบียนซึ่งกันและกันในทุกวิถีทาง ในที่สุด ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นทำให้มนุษย์ได้รู้สึกตัว และสำนึกได้
ว่าการที่ทุกสิ่งทุกอย่างเสื่อมลงไปนั้น เป็นผลมาจากความเสื่อมของศีลธรรม ที่เกิดจากความประพฤติ
ของมนุษย์ด้วยกันนั่นเอง
ดังนั้น ไม่ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงบังเกิดขึ้นหรือไม่ ศีล 5 ย่อมมีอยู่แล้วทุกยุคทุกสมัย เพราะ
มนุษย์เป็นผู้รู้จักใช้เหตุผล รู้จักยับยั้งชั่งใจ และสิ่งนี้เองคือศักดิ์ศรีที่แท้จริงแห่งความเป็นมนุษย์
อัคคัญญสูตร, ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค, มก. เล่ม 15 ข้อ 51-72 หน้า 145-165.
2 จักกวัตติสูตร, ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค, มก. เล่ม 15 ข้อ 33-50 หน้า 99-123.
108 DOU
เ ท ที่ 6 ศี ล 5 ป ก ติ ข อ ง ค วามเป็นมนุษย์
บท