ข้อความต้นฉบับในหน้า
“เนื้อและเลือดในสรีระจะแห้งเหือดไปหมดสิ้น จะเหลือแต่หนังเอ็น และ
กระดูก ก็ตามที เรายังไม่บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ จักไม่ทำลายบัลลังก์นี้”
และด้วยอานุภาพของการเจริญภาวนาที่พระองค์สั่งสมอบรมมานานนับภพนับชาติไม่ถ้วน ทำให้
พระองค์ได้มาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในที่สุด
บุคคลสำคัญอีกผู้หนึ่ง ที่ถือได้ว่าเป็นต้นแบบในการเจริญภาวนา และนับได้ว่าอยู่ในยุคสมัย
เดียวกันกับเราก็คือ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ (สด จนฺทสโร)
ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ท่านเป็นผู้ที่รักการปฏิบัติธรรมเป็นชีวิตจิตใจ หลังจากที่ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ
เมื่ออายุ 22 ปีแล้ว รุ่งขึ้นท่านก็ทำภาวนาทุกวันไม่เคยขาด ศึกษาทั้งภาคปริยัติ และภาคปฏิบัติควบคู่
กันไป จนกระทั่งกลางพรรษาที่ 12 นั้นเอง ความเพียรที่ท่านสั่งสมมาก็เผล็ดผล ท่านได้หวนระลึกขึ้นว่า
1
“ในเมื่อเราตั้งใจจริงๆ ในการบวช จำเดิมอายุสิบเก้า เราได้ปฏิญาณตน
บวชจนตาย ขออย่าให้ตายในระหว่างก่อนบวช บัดนี้ก็ได้บอกลามาถึง 15 พรรษา
ย่างเข้าพรรษานี้แล้ว ก็พอแก่ความประสงค์ของเราแล้ว บัดนี้ของจริงที่
พระพุทธเจ้าท่านรู้ท่านเห็น เราก็ยังไม่ได้บรรลุ ยังไม่รู้ไม่เห็น สมควรแล้วที่จะ
ต้องกระทำอย่างจริงจัง”
เมื่อตกลงใจได้ดังนี้แล้ว วันนั้นเป็นวันกลางเดือน 10 ก็เริ่มเข้าโรงอุโบสถ
แต่เวลาเย็น ตั้งสัจจอธิษฐานแน่นอนลงไปว่า
“ถ้าเรานั่งลงไปครั้งนี้ ไม่เห็นธรรมที่พระพุทธเจ้าต้องการ
เป็นอันไม่ลุกจากที่นี้จนหมดชีวิต”
ด้วยความตั้งใจจริงนั้น ท่านจึงได้เข้าถึงธรรมในวันนั้นเอง พร้อมกับเปล่งอุทานว่า
“คัมภีร์โรจายัง ธรรมเป็นของลึกถึงเพียงนี้ ใครจะไปคิดคาดคะเนเอาได้
พ้นวิสัยของความตรึก นึกคิดอยู่ก็เข้าไม่ถึง ที่เข้าถึงต้องทำให้รู้ตรึก รู้สึก รู้คิดนั้น
หยุดเป็นจุดเดียวกัน แต่พอหยุดก็ดับ แต่พอดับแล้วก็เกิด ถ้าไม่ดับแล้วไม่เกิด
ตรองดูเถิดท่านทั้งหลาย นี้เป็นของจริง หัวต่อมีเป็นอยู่ตรงนี้ ถ้าไม่ถูกส่วนดังนี้
ก็ไม่มีไม่เป็นเด็ดขาด”
นี้จึงเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่า ธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นมีจริง ดีจริง และเข้าถึงได้จริง ขอ
* วโรพร (นามแฝง), ตามรอยพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ),
(กรุงเทพมหานคร : บริษัท ฟองทองเอนเตอร์ไพรส์ จำกัด, 2543), หน้า 8.
* สิงหล (นามแฝง), พระมงคลเทพมุนี มหาปูชนียาจารย์, พิมพ์ครั้งที่ 3,
(กรุงเทพมหานคร : บริษัท สุขุมวิทการพิมพ์ จำกัด, 2545), หน้า 12
198 DOU บ ท ที่ 11 วั ต ถุ ป ร ะ ส ง ค์ และ อานิสงส์ การเจริญภาวนา