อานิสงส์ของปาฏิบุคคลิกทานและสังฆทาน SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 41
หน้าที่ 41 / 226

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงประเภทของปาฏิบุคคลิกทานและอานิสงส์ที่ให้แก่มนุษย์และสัตว์ รวมถึงการให้สังฆทานแก่หมู่คณะพระสงฆ์ การให้ทานมีอานิสงส์แตกต่างกันตามผู้รับ ซึ่งนำไปสู่การพ้นทุกข์ในวัฏสงสาร ผู้ที่บริจาคทานด้วยเจตนาที่ดีจะได้รับอานิสงส์มากมายและความปรารถนาเพื่อสุขภาพดีได้สำเร็จเร็วขึ้นในภายหลัง นอกจากนี้ การให้สังฆทานเป็นการให้ทานที่ไม่มีการเจาะจงนิมนต์ และเป็นกรรมที่ดีซึ่งส่งเสริมความสงบสุขในชีวิตของผู้ให้

หัวข้อประเด็น

-ประเภทของปาฏิบุคคลิกทาน
-อานิสงส์ของการให้ทาน
-ความสำคัญของสังฆทาน
-การบริจาคทานและเจตนาที่ดี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงประเภทของปาฏิบุคคลิกทานและอานิสงส์ที่ได้ของแต่ละประเภทไว้ 14 ประการ ตามลำดับ ดังต่อไปนี้ อานิสงส์ของปาฏิบุคคลิกทาน 1. ให้ทานแก่สัตว์เดรัจฉาน ด้วยความเมตตาสงสาร ได้อานิสงส์ถึง 100 ภพ คือได้อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ อย่างละ 100 อัตภาพ 2. ให้ทานแก่ผู้ทุศีล ได้อานิสงส์ถึง 1,000 ภพ 3. ให้ทานแก่ผู้มีศีล ในช่วงที่ว่างจากพระพุทธศาสนา ได้อานิสงส์ถึง 100,000 ภพ 4. ให้ทานแก่ดาบสที่ได้อภิญญา ในช่วงที่ว่างจากพระพุทธศาสนา ได้อานิสงส์ถึง 1 แสนโกฏิภพ (ล้านล้านภพ) 5. ให้ทานแก่ผู้ที่ปฏิบัติเพื่อเป็นพระโสดาบัน ผู้เป็นคฤหัสถ์หรือเป็นบรรพชิตก็ตาม จะเป็น ฌานลาภีบุคคล (ผู้ได้ฌาน) หรือไม่ใช่ฌานลาภีบุคคลก็ตาม เป็นผู้มีศีล เข้าถึงไตรสรณคมน์ ได้อานิสงส์ถึงอสงไขยภพ (นับภพไม่ถ้วน) 6. ให้ทานแก่พระโสดาบันบุคคล ย่อมมีอานิสงส์มากยิ่งขึ้นไปอีก 7. ให้ทานแก่ผู้ที่ปฏิบัติเพื่อเป็นพระสกทาคามี ย่อมได้อานิสงส์มากยิ่งขึ้นไปอีก 8. ให้ทานแก่พระสกทาคามีบุคคล ย่อมได้อานิสงส์มากยิ่งขึ้นไปอีก 9. ให้ทานแก่ผู้ที่ปฏิบัติเพื่อเป็นพระอนาคามี ย่อมได้อานิสงส์มากยิ่งขึ้นไปอีก 10. ให้ทานแก่พระอนาคามีบุคคล ย่อมได้อานิสงส์มากยิ่งขึ้นไปอีก 11. ให้ทานแก่ผู้ที่ปฏิบัติเพื่อเป็นพระอรหันต์ ย่อมได้อานิสงส์มากยิ่งขึ้นไปอีก 12. ให้ทานแก่พระอรหันต์ ย่อมได้อานิสงส์มากยิ่งขึ้นไปอีก 13. ให้ทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ย่อมได้อานิสงส์มากยิ่งขึ้นไปอีก 14. ให้ทานแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมได้อานิสงส์มากยิ่งขึ้นไปอีก ผู้ที่ปรารถนาความสุข และต้องการพ้นทุกข์ในวัฏสงสาร ในขณะที่บริจาคทานให้แก่ปฏิคาหกทั้ง 14 จำพวกนี้ ความปรารถนาที่จะพ้นทุกข์ก็จะสำเร็จได้โดยเร็ว 2. สังฆทาน คือ ทานที่ให้แก่หมู่คณะ ไม่เฉพาะเจาะจงผู้ใดผู้หนึ่ง เมื่อผู้ให้ต้องการถวายปัจจัย ไทยธรรม (สิ่งของที่ควรถวายพระ) ก็เต็มใจถวายแก่ภิกษุทั้งนั้น ด้วยความเคารพยำเกรงในสงฆ์ (หมู่คณะ) โดยมิได้เจาะจงภิกษุรูปใดเป็นพิเศษ เช่น เมื่อจะนิมนต์พระไปทำบุญบ้าน ก็เข้าไปหาเจ้าอาวาส หรือ เจ้าหน้าที่รับนิมนต์ของวัด กราบเรียนท่านว่าจะทำบุญบ้าน ขอนิมนต์พระสงฆ์ไปรับไทยธรรม 9 รูป ทาง วัดจะส่งพระรูปใดไปรับไทยธรรม ก็มีความยินดี เต็มใจถวายทานแก่ท่าน ทานที่ผู้ให้มีเจตนากว้างไม่ เจาะจงนิมนต์อย่างนี้ เรียกว่า “สังฆทาน” ทักขิณาวิภังคสูตร, มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่มที่ 23 ข้อ 711 หน้า 394. 30 DOU บ ท ที่ 2 ท า น คื อ อะไร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More