ข้อความต้นฉบับในหน้า
เขาไม่อาจจะปกปิดทรัพย์ที่มากมายขนาดนั้นได้ จึงคิดว่าควรที่จะกราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ
ดีกว่า แล้วได้นำเอาทองคำจำนวนหนึ่งใส่ถาดไปเฝ้าพระราชา กราบทูลเรื่องทั้งหมดให้ทรงทราบ พระ
ราชาส่งราชบุรุษไปขนทองคำที่ท้องนาของเขามา
ฝ่ายราชบุรุษพอไปขนทองเป็นจำนวนมากมาไว้ที่พระลานหลวง
พลางกล่าวว่า
“ทองคำนี้เป็นของพระราชา” พอเทออกมา ทองคำก็กลายเป็นก้อนดินไป พระราชาทอดพระเนตรเห็น
ดังนั้นรู้สึกประหลาดใจมาก จึงถามว่า “พวกเธอกล่าวว่าอย่างไรหรือ”
พวกราชบุรุษกราบทูลว่า
“พวกข้าพระองค์กล่าวว่า ได้ขนสมบัติของพระราชามา”
พระราชาตรัสว่า
“เธอกล่าวอย่างนั้นไม่ถูก เธอต้องคิดแล้วกล่าวเสียใหม่ว่า นี่เป็นสมบัติของนายปุณณะ
ราชบุรุษทำตามที่พระราชารับสั่ง และแล้วสมบัตินั้นก็กลายเป็นทองคำในทันที พระราชารับสั่ง
ให้เหล่าอำมาตย์ประชุมกัน แต่งตั้งและมอบตำแหน่งเศรษฐีให้แก่นายปุณณะและตั้งชื่อให้ใหม่ว่า
“พหุธนเศรษฐี” แปลว่า เศรษฐีผู้มีทรัพย์มาก
จะเห็นได้ว่า นายปุณณะได้ทำบุญในเขตที่ครบทั้งสัมปทา 4 คือ มีผู้รับ ได้แก่พระสารีบุตร เป็น
พระอรหันต์ เป็นทักขิไณยบุคคลผู้เลิศ ปัจจัยที่ถวายก็ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ แม้จะเป็นอาหารของ
ชาวบ้านธรรมดา แต่เป็นของบริสุทธิ์ เจตนาของเขาดีทั้ง 3 กาล คือก่อนให้ก็ดีใจ กำลังให้ก็เลื่อมใส
ให้แล้วก็เบิกบานยินดี และพระสารีบุตรเป็นคุณาติเรกสัมปทา คือเพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ๆ ฉะนั้น
ผลบุญนี้จึงมากมายมหาศาล ส่งผลให้ทันตาเห็นฉะนี้
3.5.2 ผลของทานแต่ละประเภท
ผลของการทำทานโดยทั่วไปแล้ว ย่อมทำให้ผู้ให้เกิดความอิ่มใจ มีความสุขสบายใจ แม้จะ
ทำเพียงเล็กน้อยก็ตาม ก็ให้อานิสงส์แก่ผู้ทำทานนั้นได้ ที่จะไม่ให้ผลนั้นเป็นไม่มี ไม่ว่าสิ่งของที่ต้องการจะ
ทำทานนั้นเป็นอะไรก็ตาม ทั้งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ ยิ่งทำทานถูกเนื้อนาบุญด้วยแล้ว ยิ่งได้รับอานิสงส์มาก
ดังนั้น เมื่อเราทำทาน จึงมักตั้งจิตอธิษฐานขอให้ผลบุญที่ได้จากการทำทานนั้น ส่งผลให้เราได้ใน
สิ่งที่ปรารถนา ซึ่งนอกจากการอธิษฐานจิตกำกับแล้ว ทานบางอย่างก็ให้อานิสงส์โดยตัวของทานเอง ดังที่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสถึงอานิสงส์ของทานในกินททสูตร ดังนี้
กินททสูตร, สังยุตตนิกาย สคาถวรรค, มก. เล่ม 24 ข้อ 137-138 หน้า 239.
60 DOU ท ที่ 3 ก า ร ท า ท า น น ที่ ส
บ ท ท
สม บูรณ์ แ บ บ