ข้อความต้นฉบับในหน้า
ความสุขอันเกิดจากการทำภาวนาย่อมเกิดขึ้นกับผู้นั้นตลอดเวลาไม่ว่าเขาจะอยู่ในอิริยาบถใด
ความ
สุขย่อมไปตามเขาเสมอ ดังเรื่องราวที่เจ้าชายหัตถกะ อาฬวกะได้ทูลถามพระพุทธองค์ เมื่อครั้งที่ ทรง
ประทับบนลาดใบไม้ในป่าสิงสปาวัน ใกล้ทางโค ซึ่งเป็นพื้นที่ขรุขระ ไม่สบาย ด้วยความห่วงใยว่า
“พระผู้มีพระภาคเจ้าบรรทมเป็นสุขอยู่หรือ พระพุทธเจ้าข้า?”
ซึ่งพระองค์ตรัสตอบไปว่า
“อย่างนั้น เจ้าชาย ตถาคตนอนเป็นสุข บรรดาคนที่นอนเป็นสุขในโลก ตถาคตเป็นคนหนึ่ง”
นั่นเพราะพระองค์มีใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขเอ่อล้นอยู่นั่นเองแม้กายจะลำบากแต่ใจก็เป็นสุขได้
อย่างไรก็ตาม ความสุขอันเกิดจากการเจริญภาวนา ที่ผู้ประพฤติปฏิบัติแต่ละคนจะได้รับนั้น
ถือเป็นสิ่งที่ผู้นั้นจะพึงรู้พึงเห็นได้ด้วยตนเองจะอาศัยให้ผู้อื่นทำให้นั้นไม่ได้ ดังปรากฏใน ทุติยสันทิฏฐิกสูตร
ความว่า
“ดูก่อนพราหมณ์ การที่ท่านทราบชัดเหตุเครื่องประทุษร้ายใจ(กิเลส)ที่
มีอยู่ในภายในว่า เหตุเครื่องประทุษร้ายใจมีอยู่ในภายในของเรา หรือทราบชัด
เหตุเครื่องประทุษร้ายใจที่ไม่มีอยู่ในภายในว่า เหตุเครื่องประทุษร้ายใจไม่มีอยู่ใน
ภายในของเรา อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”
11.1.2 เพื่อให้ได้สุขในสัมปรายภพ
นอกจากผู้เจริญภาวนาจะได้รับผลแห่งการปฏิบัติเป็นความสุขแล้ว ยังได้ชื่อว่าเป็นการปฏิบัติตาม
คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกด้วย ดังพุทธวจนะที่พระองค์ได้ตรัสไว้ในโอวาทปาฏิโมกข์ หรือหลัก
การของชาวพุทธที่ว่า
“สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง
กุสะลัสสูปะสัมปะทา
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง
เอตัง พุทธานะสาสะนัง
คือ การไม่ทำบาปทั้งปวง การยังกุศลให้ถึงพร้อม การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว นี้เป็นคำสอน
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
หัตถกสูตร, อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต, มก. เล่ม 34 ข้อ 474 หน้า 142
ทุติยสันทิฏฐิกสูตร, อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต, มก. เล่ม 36 ข้อ 319 หน้า 678.
อรรถกถาขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เรื่องพระวิปัสสีพุทธเจ้า, มก. เล่ม 73 หน้า 601.
192 DOU บ ท ที่ 11 วั ต ถุ ป ร ะ ส ง ค์ และ อานิสงส์ การเจริญภาวนา
ท