แสวงหาไทยธรรมในการให้ทาน SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 64
หน้าที่ 64 / 226

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการให้ทานตามคำสอนในพระไตรปิฎก โดยมีสิ่งของที่ควรให้ทาน ได้แก่ ข้าว น้ำ ผ้า และยานพาหนะ รวมถึงการให้ทานในระดับปรมัตถ์ที่เกี่ยวข้องกับการถอนอารมณ์ Attachments ของผู้ให้และผู้รับ การจัดการให้ทานที่บริสุทธิ์และเหมาะสมต่อผู้รับจะส่งผลให้เกิดบุญใหญ่ นอกจากนี้ยังมีการชี้แจงถึงสิ่งของที่ไม่ควรให้ทาน รวมถึงขั้นตอนในการเตรียมตนเองเพื่อทำการให้ทานอย่างถูกต้องตามหลักกรรมฐาน อันจะนำไปสู่ความบริสุทธิ์และกุศลที่ยิ่งใหญ่ โดยการละวางอารมณ์และทำให้จิตใจสงบ

หัวข้อประเด็น

-การให้ทานตามพระไตรปิฎก
-สิ่งของที่ควรและไม่ควรให้ทาน
-ความสำคัญของการบริสุทธิ์ก่อนให้ทาน
-การเตรียมตัวก่อนการให้ทาน
-ผลบุญจากการให้ทาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3.4.2 แสวงหาไทยธรรม (สิ่งของที่ควรให้ทาน) ด้วยความเพียรที่บริสุทธิ์ ให้เหมาะสมและดูควร แก่ผู้รับ เมื่อได้มาแล้วจึงจัดแจงตกแต่งให้งดงาม สะอาด ประณีต ให้เป็นสามีทาน และควรให้ทานให้ ครบถ้วนตามคำสอนที่มีมาในพระไตรปิฎก คือทานในพระสูตร พระวินัย และพระอภิธรรม จะทำให้ได้ บุญกุศลที่ยิ่งใหญ่เป็นพิเศษ สิ่งของที่ควรให้ทาน ท่านจัดไว้ในพระสูตรมี 10 อย่าง คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักอาศัย ประทีปโคมไฟ จัดไว้ในพระวินัยมี 4 อย่าง คือ จีวร (เครื่องนุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) คิลานเภสัช (ยารักษาโรค) และจัดไว้ในพระอภิธรรม (ปรมัตถ์) มี 6 อย่าง คือ สละความยินดี ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งที่ถูกต้องกาย) ธรรมารมณ์ (อารมณ์ที่เกิดกับใจ) ซึ่งพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ) อธิบายไว้ว่า “ทานในพระปรมัตถ์ 6 คือ มีอายตนะ 6 คือ ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ถอนความยินดีในอารมณ์เหล่านี้ออกเสียได้ สละความยินดีในอารมณ์เหล่านี้เสียได้ ก่อนเราเกิดมาเขาก็ยินดี กันอยู่อย่างนี้ ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ กำลังที่เราเกิดมาเขาก็ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เหล่านี้ ครั้นเราจะตายเขาก็ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อย่างนี้เหมือนกัน ความยินดีเหล่านี้ หากถอนอารมณ์ออกเสียได้ ไม่ให้มาเสียดแทงเราได้ พิจารณาว่านี้เป็นอารมณ์ ของชาวโลก ไม่ใช่อารมณ์ของธรรม ปล่อยอารมณ์เหล่านั้นเสีย ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ให้เข้าไปเสียดแทงใจ ทำใจให้หยุด ให้นิ่ง นี่เขาเรียกว่า ให้ธรรมารมณ์เป็นทาน ย่อมมีกุศลใหญ่เป็นทางไปแห่งพระนิพพาน โดยแท้ และเป็นทานอันยิ่งใหญ่ทางปรมัตถ์” สิ่งของที่ไม่ควรให้ทาน ได้แก่ สุรายาเสพติด มหรสพที่ทำให้ประมาทมัวเมา สัตว์เพื่อการผสมพันธุ์ ภาพหรือสิ่งของที่ยั่วยุกามารมณ์ และอาวุธเพื่อการทำมิจฉาชีพ 3.4.3 ทำตนเองให้บริสุทธิ์ก่อนที่จะให้ทาน ด้วยการสมาทานศีล 5 หรือศีล 8 แล้วนั่งสมาธิ กลั่นใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ นึกถึงปฏิคาหก (ผู้รับ) เสมือนท่านเป็นพระอรหันต์ หรือเป็นตัวแทนของสงฆ์ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มรดกธรรมของหลวงพ่อวัดปากน้ำ (พระมงคลเทพมุนี), (กรุงเทพมหานคร : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จํากัด, 2539), หน้า 358-359. บทที่ 3 ก า ร ท า ท า น ที่ สมบูรณ์ แบบ DOU 53
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More