ข้อความต้นฉบับในหน้า
11.1.3 เพื่อให้ได้สุขอย่างยิ่ง คือ พระนิพพาน
ใช่แต่เพียงเท่านั้น การเจริญภาวนายังเป็นเหตุให้บรรลุถึงความสิ้นทุกข์ เข้าถึงสุขที่แท้จริงอีกด้วย
ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “นิพพานัง ปรมัง สุขัง” นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
บุคคลใดก็ตามที่ตั้งความปรารถนาจะหลุดพ้นจากห้วงทุกข์ หยุดวงจรการเวียนว่ายตายเกิดของ
ตนเองในวัฏสงสารแล้ว การเจริญภาวนามีความจำเป็นอย่างยิ่ง และมีความสำคัญอย่างที่สุด หากละทิ้งการ
ทำสมาธิอย่างจริงจังแล้ว หนทางที่จะดับสิ้นซึ่งกองกิเลสเพื่อมุ่งสู่พระนิพพานจะเป็นไปไม่ได้เลย ดังหลักฐาน
ที่ยกมาแสดงนี้
“ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีใจประกอบด้วยหิริโอตตัปปะ มีปัญญาและสำรวม
ในศีล ในวินัยของพระอริยเจ้า ผู้นั้นแล เราเรียกว่ามีชีวิตเป็นสุขในวินัยของพระ
อริยเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน เขาได้ความสุขที่ไม่มีอามิส ยังอุเบกขา (ในจตุตถฌาน)
ให้ดำรงมั่น ละนิวรณ์ 5 ประการ เป็นผู้ปรารภความเพียรเป็นนิตย์ บรรลุฌาน
ทั้งหลาย มีเอกัคคตาจิตปรากฏ มีปัญญารักษาตัว มีสติ จิตของเขาย่อมหลุดพ้น
โดยชอบ เพราะทราบเหตุในนิพพานเป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวงตามความเป็นจริง
เพราะไม่ถือมั่นโดยประการทั้งปวง”
และอีกแห่งหนึ่ง ดังนี้
“ภิกษุอาศัยตระกูลแล้ว เสพปัจจัยมีจีวรเป็นต้น เจริญกัมมัฏฐาน พิจารณา
ในสังขารทั้งหลาย บรรลุพระอรหัต เป็นสุขด้วยโลกุตตรสุข ย่อมไปสู่ทิศ คือ
นิพพานที่ยังไม่เคยไปได้ตามต้องการฉันนั้น”
เมื่อกล่าวถึงการบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว บุคคลที่จะเข้าถึงจุดตรงนั้นได้จะต้องสร้างบารมี
อย่างทุ่มเทชีวิตจิตใจ ต้องเอาชีวิตเป็นเดิมพัน แม้ว่าจะมีอุปสรรคมากมายเพียงใดมาขวางกั้นหนทางการ
บรรลุพระนิพพาน ก็หาได้มีความเกรงกลัว หวาดหวั่น ครั่นคร้ามไม่ หากแต่ยังคงมีจิตใจที่มั่นคงเด็ดเดี่ยว
ในมโนปณิธานที่ตนได้ตั้งเอาไว้อย่างดีแล้ว ยังคงมุ่งมั่นบำเพ็ญบารมีต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง จนกระทั่งถึงฝั่ง
แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ
บุคคลประเภทนี้จะมีความรักในบุญเป็นชีวิตจิตใจ และบุญที่จะละทิ้งไม่ได้เลย คือ บุญที่เกิดจากการ
เจริญภาวนา บุญนี้เท่านั้นที่จะนำพาเราไปสู่ความสำเร็จได้ ลำพังเพียงบุญที่เกิดจากการทำทาน
หรือบุญที่เกิดจากการรักษาศีลเท่านั้นยังไม่เพียงพอ มิใช่ว่าบุญทั้งสองประการนั้นจะไร้ความสำคัญ
หากแต่การเจริญภาวนานั้นเป็นบุญเฉพาะที่จะทำให้มุ่งไปสู่เป้าหมายอันสูงสุด คือ พระนิพพานได้
มาคัณฑิยสูตร, มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์, มก. เล่ม 20 ข้อ 287 หน้า 496.
* อิณสูตร, อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต, มก. เล่ม 36 ข้อ 316 หน้า 668.
จันทูปมสูตร, อรรถกถาสังยุตตนิกาย นิทานวรรค, มก. เล่ม 26 หน้า 557
194 DOU บ ท ที่ 11 วั ต ถุ ป ร ะ ส ง ค์ และ อานิสงส์ การเจริญภาวนา