ทาน ศีล ภาวนา: วิถีชีวิตที่ถูกต้อง SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 215
หน้าที่ 215 / 226

สรุปเนื้อหา

บทที่ 12 นี้กล่าวถึงการใช้ชีวิตที่ถูกต้องโดยการปฏิบัติทาน ศีล ภาวนา เพื่อมุ่งสู่ความสุข ความดีงาม และการมีสัมมาทิฏฐิ ทาน ศีล ภาวนา เป็นวิธีที่ไม่ยากในการสร้างสุขในชีวิต หากทุกคนมีใจที่สะอาดและบริสุทธ์ นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นผลกระทบของสัมมาทิฏฐิที่มีต่อความคิดและการกระทำ ซึ่งจะนำไปสู่ชีวิตที่มีความสุข การขาดสัมมาทิฏฐิอาจนำไปสู่ปัญหาในสังคม โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีการศึกษาแต่ขาดการเข้าใจในหลักการที่ถูกต้อง.

หัวข้อประเด็น

- จุดเริ่มต้นของความดีงาม
- สัมมาทิฏฐิกับความสุข
- ผลกระทบจากสัมมาทิฏฐิที่ไม่สมบูรณ์
- การประพฤติปฏิบัติที่นำไปสู่ชีวิตที่ดี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 12 ทาน ศีล ภาวนา คือบทสรุปของวิถีชีวิตที่ถูกต้อง 12.1 จุดเริ่มต้นของความดีงาม คนเราเมื่อเกิดมาในโลกนี้ ล้วนปรารถนาให้วิถีชีวิตของตนมุ่งไปสู่ความเจริญ อยากให้ชีวิตของตน ดีงาม มีความสุข เพราะชีวิตที่มีความสุขนั้น จะส่งผลให้เกิดสิ่งดีๆ ตามมาอีกมากมาย หนทางที่จะทำให้ ความสุขบังเกิดขึ้นในชีวิตนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ยากเย็นอะไร ความสุขจะมีขึ้นได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับใจเป็นสำคัญ ใจของผู้ใดสะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใส ความสุขย่อมบังเกิดขึ้นกับผู้นั้นได้เสมอ ใจจะสะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใสได้นั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยากเลย อยู่ในวิสัยที่เราสามารถทำได้ โดยเริ่มต้นที่การทำความเห็นหรือความเข้าใจให้ถูกต้องในเรื่องโลก เรื่องชีวิต เรื่องบุญ เรื่องบาป คือ เป็น สัมมาทิฏฐิบุคคลนั่นเอง 12.1.1 สัมมาทิฏฐินำไปสู่ความสุขที่แท้จริง บุคคลผู้มีสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้นในใจ ย่อมมีความสุขอย่างเปี่ยมล้นในการดำเนินชีวิต เพราะเขามีความ เข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างไปตามความเป็นจริง ย่อมจะมองโลกได้อย่างถูกต้องตามที่ควรจะเป็น แตกต่างจากผู้ ที่ยังไม่เป็นสัมมาทิฏฐิ เขาย่อมมีความเข้าใจถูกที่ยังไม่สมบูรณ์ เข้าใจแต่เพียงบางส่วน เหมือนกับมองเห็น สิ่งของแต่เพียงบางด้าน บางมุม มองเห็นไม่รอบด้าน เมื่อเป็นเช่นนี้ ทิฏฐิหรือความเห็นในเรื่องการใช้ชีวิต ของเขาย่อมขาดตกบกพร่องไป จะมากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับระดับของสัมมาทิฏฐิในใจของเขาเองว่ามาก น้อยเพียงใด ซึ่งตรงนี้จะมีผลอย่างสำคัญต่อความคิดหรือทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว ทั้งที่มีชีวิต และ ไม่มีชีวิต และจะมีผลกระทบต่อการแสดงออกทางด้าน คำพูด และการกระทำต่อไปอีก ผู้มีสัมมาทิฏฐิที่ไม่สมบูรณ์นั้น แม้จะมีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ทั้งหลายทั้งปวงเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นด้านรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ โหราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือศาสตร์ใดๆ ก็ตาม บางคนอาจมี ความสามารถถึงขั้นประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือที่มีความทันสมัยทางเทคโนโลยีได้ แต่ถ้าหากเขายังขาด ความรู้ที่เป็นสัมมาทิฏฐิแล้ว ย่อมมีโอกาสเสมอที่จะตัดสินใจผิดพลาดในเรื่องของการใช้ชีวิต ดังมีตัวอย่าง ให้เราเห็นเป็นระยะๆ เช่น นักเรียนติดยาเสพติด นักศึกษาขายประเวณี การทุจริตคอรัปชั่น การ หลอกลวงขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ต ไปจนถึงสงครามระหว่างประเทศ เหตุการณ์เหล่านี้ล้วนเกิดจากกลุ่ม ผู้มีการศึกษาแต่ขาดสัมมาทิฏฐิทั้งสิ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหาย เป็นทุกข์ทั้งกาย และใจ ทั้งแก่ตัวของเขาเอง บุคคลรอบข้าง และอาจมีผลกระทบไปถึงสิ่งแวดล้อมอีกด้วย 204 DOU บท ที่ 12 ท า น ศีล ภ า ว นา คื อ บ ท ส รุ ป ข อ ง วิถี ชี วิ ต
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More