การทำสมาธิและผลกระทบต่อสันติภาพในโลก SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 220
หน้าที่ 220 / 226

สรุปเนื้อหา

การทำสมาธิช่วยพัฒนาจิตใจให้สูงขึ้น สร้างความสงบและบริสุทธิ์ ส่งผลดีต่อสังคม ช่วยลดความแตกต่างและสร้างความเข้าใจกัน ส่งผลให้เกิดสันติภาพจริง ๆ จากการที่ทุกคนทำความดีอย่างต่อเนื่อง ผ่านการเข้าถึงธรรมชาติของตนเอง แม้ว่าจะมีอุปสรรคเช่นกระแสโลกและหน้าที่การงาน แต่การทำทาน ศีล และภาวนา ยังกระตุ้นให้เราเข้าใกล้สันติสุขได้

หัวข้อประเด็น

-การทำสมาธิ
-สันติภาพภายใน
-การทำความดี
-การพัฒนาจิตใจ
-ผลกระทบต่อสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

หากผู้หนึ่งเริ่มต้นทำสมาธิ ใจของเขาย่อมได้รับการพัฒนาให้สูงขึ้น ในสภาวะที่เป็นสมาธิ ใจหยุดนิ่งอยู่ท่ามกลางความสงบภายใน ย่อมปราศจากความคิด คำพูด และการกระทำในด้านร้ายต่อใครๆ กระแสแห่งความสงบและบริสุทธิ์เริ่มก่อตัวขึ้นทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งครอบคลุมไปทั่วอาณาบริเวณ อานุภาพของคนคนหนึ่งมีได้มากมายถึงเพียงนี้ และถ้าหากเราลงมือทำสมาธิกันทั้งโลก กระแสใจของ ทุกคนย่อมมีผลถึงกันและกัน คุณภาพใจของทุกคนย่อมได้รับการพัฒนาให้สูงขึ้น เป็นสภาวะใจที่อยู่เหนือ ปัญหาทั้งมวล เราจะมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน ความแตกต่างก็จะหมดจากโลกนี้ไป คือ มองข้ามความ แตกต่างเล็กๆ น้อยๆ ไปจนหมด ไม่เหลือความแตกต่างใดที่มีผลทำให้มวลมนุษยชาติไม่เข้าใจกันได้ โลกก็จะ พบกับความสงบสุขที่แท้จริงอันเกิดจากการประพฤติปฏิบัติธรรม ดังนั้นสันติภาพของโลกจึงเริ่มต้นจาก สันติสุขภายในของเราเอง เพื่อให้รักการทำความดีจนเป็นนิสัย ทาน ศีล ภาวนา มีความจำเป็นที่จะต้องทำจนติดเป็นนิสัย เพราะมีสาเหตุหลายประการที่ทำให้ เราห่างเหินจากการทำความดีได้ง่าย ดังจะยกตัวอย่างพอสังเขป ดังนี้ 1) กระแสโลก สังคมโลกนี้มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ดึงให้เราเอาใจไปเกาะเกี่ยว ทำให้ชีวิตประจำวันของเรามักต้อง ให้ความสนใจกับสิ่งเหล่านั้น เช่น ภาพยนตร์ งานรื่นเริง สถานที่ท่องเที่ยว อุปกรณ์ทันสมัยต่างๆ เป็นต้น ยิ่งกระแสโลกในยุคปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ยิ่งต้องติดตามสถานการณ์เพื่อปรับตัว ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงให้ได้ นอกจากนี้ ในหลายๆ แห่งยังเต็มไปด้วยอบายมุขหลากชนิด ที่ดึงทั้งกายและ ใจของเราให้เข้าไปยึดติด สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ทำลายความคิดที่จะสั่งสมความดีให้หมดไปทั้งสิ้น 2) หน้าที่การงาน ความรับผิดชอบที่ต้องมีต่ออาชีพ เป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งที่เราต้องให้ความสำคัญ เพราะสิ่งนี้ เป็นทาง มาของโภคทรัพย์ที่จะนำมาหล่อเลี้ยงชีวิต อาชีพที่มีอยู่ในโลกนี้ที่ทำแล้วถือว่าเป็นความดีก็พอมีอยู่บ้าง แต่ โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นอาชีพที่จำเป็นต้องก่อบาปไปพร้อมกันด้วย เรียกว่า บาปประจำอาชีพ เช่น เลี้ยง สัตว์เพื่อนำไปฆ่า มือปืนรับจ้าง เจ้าของบ่อนการพนัน ค้ายาเสพติด ค้าอาวุธ เป็นต้น แม้บางอาชีพจะมี ลักษณะเป็นกลางๆ คือ ไม่ได้ทำทั้งบุญ และบาป แต่ก็ยังมีโอกาสให้กระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบได้ สิ่งเหล่านี้จะหล่อหลอมให้เกิดทัศนคติที่ตรงข้ามกับความดี เนื่องจากความเสพคุ้นในงานอาชีพ ที่ ต้องทําเป็นประจำ บท ที่ 12 ท า น ศีล ภาวนา คื อ บ ท ส รุ ป ข อ ง วิถี ชี วิ ต DOU 209
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More