โทษของการผิดศีล SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 162
หน้าที่ 162 / 226

สรุปเนื้อหา

การผิดศีลตามหลักพระพุทธศาสนาส่งผลต่อชีวิตและสุขภาพของบุคคล เช่น การฆ่าสัตว์ทำให้อายุสั้น การลักทรัพย์ส่งผลต่อสุขภาพจิต การประพฤติผิดในกามอาจนำไปสู่โรคติดต่อ การโกหกอาจทำให้ความจำเสื่อม และการดื่มน้ำเมาส่งผลต่อสุขภาพร่างกายต่างๆ ข้อคำสอนในจูฬกัมมวิภังคสูตรชี้ให้เห็นว่ากรรมของสัตว์ในอดีตและปัจจุบันมีผลกำหนดความแตกต่างของสภาพชีวิต เช่น สุขภาพและความสำเร็จในชีวิต ดังนั้น การรักษาศีลจึงมีความสำคัญในการดำรงชีวิตให้มีคุณภาพดีขึ้น

หัวข้อประเด็น

-โทษของการฆ่าสัตว์
-โทษของการลักทรัพย์
-โทษของการประพฤติผิดในกาม
-โทษของการโกหก
-โทษของการดื่มน้ำเมา
-ผลของกรรมในอดีตและปัจจุบัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

โทษของการผิดศีลข้อ 1 ฆ่าสัตว์ ทำให้อายุสั้น เช่น บุคคลประเภทผู้มีอิทธิพลหรือเจ้าพ่อทั้งหลาย มีหลายคนที่ถูกฆ่าตาย เพราะ เคยไปฆ่าคนอื่นเขาไว้เหมือนกัน เนื่องจากญาติพี่น้องของคนที่ถูกฆ่าเหล่านั้นย่อมโกรธแค้น จึงหาทาง แก้แค้นคืนเอาบ้าง โทษของการผิดศีลข้อ 2 ลักทรัพย์ ทำให้เกิดโรคจิต เช่น โรคหวาดผวา เพราะได้ลักขโมยสิ่งของของผู้อื่นมา จึงเกรงว่าจะมีใครมา เห็น ทำให้เกิดความกลัวคิดระแวงสงสัย ทั้งยังเกรงว่าจะถูกเจ้าของทรัพย์จับได้ นานๆ ไป จึงกลาย เป็นโรคหวาดผวาไปเลย โทษของการผิดศีลข้อ 3 ประพฤติผิดในกาม ทำให้เกิดกามโรค หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (เอดส์) เป็นต้น โทษของการผิดศีลข้อ 4 พูดโกหก ทำให้เกิดโรคความจำเสื่อม ผู้ที่โกหกมากๆ ในที่สุด แม้ตนเองจะพูดเรื่องจริงก็ยังสงสัย ว่าเรื่องที่ พูดนั้นเป็นความจริงหรือโกหกกันแน่ ครั้นนานเข้าก็กลายเป็นคนไม่กล้าตัดสินใจบางคนเป็นโรคหลงไปเลยก็มี โทษของการผิดศีลข้อ 5 ดื่มน้ำเมา ทำให้เกิดโรคพิษสุราเรื้อรัง ตับแข็ง มะเร็ง ฯลฯ หรือได้รับบาดเจ็บอันเกิดจากการทะเลาะวิวาท การทำผิดศีลมิเพียงแต่ให้ผลในปัจจุบันชาตินี้เท่านั้น แต่ยังส่งผลให้เกิดวิบากกรรมต่อไปในภพชาติ เบื้องหน้า ดังที่เราได้พบเห็นว่า บางคนเกิดมาพร้อมกับความไม่สมประกอบ บางคนเกิดเป็นโรคร้ายที่แปลก ประหลาด ในขณะที่บางคนกลับมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงตลอดชีวิต สาเหตุของความแตกต่าง กันนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงเหตุที่มาของความแตกต่างเหล่านี้ไว้ใน จูฬกัมมวิภังคสูตร ว่า “กรรมย่อมจำแนกสัตว์ คือ ให้ทรามและประณีต จึงสรุปได้ว่าเป็นเพราะกรรมของสัตว์ที่ได้กระทำไว้ในอดีตชาติ อันเกิดจากการกระทำในอดีตและ ปัจจุบัน ผู้ประกอบกรรมชั่วหยาบย่อมมีวิบากผลที่ทราม ผู้ประกอบกรรมดี ย่อมมีวิบากผลที่ประณีต ความแตกต่างของสัตว์จึงแตกต่างกัน จูฬกัมมวิภังคสูตร, มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่ม 23 ข้อ 596 หน้า 259. บทที่ 8 อ า น ส ง ส ข อ ง ก า ร รั ก ษ า ศีล DOU 151
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More