การเจริญภาวนาและสมาธิในพระพุทธศาสนา SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 189
หน้าที่ 189 / 226

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพูดถึงการระลึกถึงเสมอๆ ผ่านอนุสสติ รวมถึงการพิจารณาคุณของพระพุทธเจ้า, ความสำคัญของพรหมวิหาร 4, การพิจารณาธาตุในร่างกาย, และสมาธิที่หมายถึงการทำให้จิตสงบแน่วแน่ การมีจิตจดจ่อในกิจกรรมต่างๆ เช่น การเล่นการพนัน ไม่จัดว่ามีสมาธิในทางพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ในคัมภีร์วิมุตติมรรคกล่าวถึงสมาธิที่ให้ความตั้งมั่นกับจิต การพิจารณาขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 เป็นต้น ซึ่งเป็นเครื่องมือในการพัฒนาความเข้าใจทางจิต โดยมีจุดประสงค์เพื่อความจริงและการพ้นทุกข์.

หัวข้อประเด็น

-อนุสสติ
-พรหมวิหาร
-อาหาเรปฏิกูลสัญญา
-จตุธาตุววัตถาน
-สมาธิ
-วิปัสสนากรรมฐาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อนุสสติ หมายถึง การระลึกถึงอยู่เนืองๆ เสมอๆ ความมีสติระลึกถึง เช่น พุทธานุสติ ระลึกถึง คุณของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ พรหมวิหาร หมายถึง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม มี 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา อาหาเรปฏิกูลสัญญา หมายถึง การพิจารณาความเป็นปฏิกูลในอาหาร กำหนดหมายว่า อาหาร ที่บริโภคเป็นสิ่งปฏิกูล จตุธาตุววัตถาน หมายถึง การพิจารณาธาตุทั้ง 4 ที่ปรากฏในร่างกายจนกระทั่งเห็นเป็นแต่เพียง กองแห่งธาตุ โดยปราศจากความจำว่า เป็นหญิง ชาย เรา เขา สัตว์ บุคคล เสียได้ อรูปกัมมัฏฐาน หมายถึง การเอาอารมณ์ที่ไม่ใช่รูปฌานเป็นที่ตั้งแห่งการงานทางใจ 2. วิปัสสนากรรมฐาน คือ อุบายเรื่องปัญญา มี 6 ภูมิ ได้แก่ ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 อริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปบาทธรรม (ธรรมที่อาศัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้น) 10.5.2 สมาธิ สมาธิ แปลว่า ความมีใจตั้งมั่น, ความตั้งมั่นแห่งจิต, การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน, การมีจิต กำหนดแน่วแน่อยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ ในคัมภีร์วิมุตติมรรคได้กล่าวถึงความหมายของสมาธิไว้ว่า สมาธิ หมายถึง สิ่งที่ทำให้จิตดำรง มั่น ดำรงอยู่ด้วยดี ตั้งดิ่งแน่วแน่ ไม่ซัดส่ายไป ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถูกรบกวน สงบ ไม่ถูกอารมณ์ยึดไว้ ทำให้สมรรถนะ และพลังแห่งสมาธิเข้มแข็งขึ้น เมื่อกล่าวโดยภาพกว้างๆ สมาธิมีได้หลายลักษณะด้วยกัน ถ้าเราสังเกตให้ดีจะพบว่า ขณะที่ นักพนัน กำลังเล่นไพ่ มือปืนกำลังจ้องยิงคู่อาฆาต คนทรงกำลังเชิญผีเข้า หรือพวกโจรกำลังวางแผน ก่อโจรกรรม บุคคลเหล่านี้ต่างมีใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่เขากำลังกระทำทั้งสิ้น หลายคนจึงมักเข้าใจผิด คิดว่าบุคคลเหล่านี้มีสมาธิมั่นคงดี แต่แท้ที่จริงแล้ว สิ่งเหล่านี้ไม่จัดว่าเป็นสมาธิในพระพุทธศาสนา - พระอุปติสสเถระ, วิมุตติมรรค, พิมพ์ครั้งที่ 5, (กรุงเทพมหานคร : ศยาม, 2541), หน้า 40. 178 DOU บท ที่ 10 ส า ร ะ ส าคั ญ ข อ ง ก า ร เ จ ริ ญ ภ า ว น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More