การเจริญภาวนาและการพัฒนาจิตใจ SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 195
หน้าที่ 195 / 226

สรุปเนื้อหา

การเจริญภาวนาเป็นงานสำคัญที่ทำควบคู่ไปกับการทำทานและการรักษาศีล เป็นการฝึกใจให้สงบและหยุดนิ่งอยู่ภายในศูนย์กลางกาย โดยปฏิบัติตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา เมื่อใจหยุดได้ ก็จะเข้าถึงสภาวธรรมและเห็นอันวิเศษ ทำให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง การกำจัดนิวรณ์ต่างๆ เช่น อุทธัจจกุกกุจจะและวิจิกิจฉา จะช่วยให้สามารถพัฒนาจิตใจได้ดียิ่งขึ้น และการเจริญภาวนานั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติหรือศาสนาใด.

หัวข้อประเด็น

-อุทธัจจกุกกุจจะ
-วิจิกิจฉา
-การเจริญสมาธิ
-การพัฒนาจิตใจ
-มรรคองค์ 8

ข้อความต้นฉบับในหน้า

4. อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่าน และความรำคาญ กิเลส 2 ประการนี้ ทำให้จิตใจหม่นหมอง ฟุ้งซ่าน หาความสุขใจมิได้ บางคนถึงกับเป็นโรคประสาทไปก็มี 5. วิจิกิจฉา คือ ความสงสัยลังเลใจ ไม่อาจตัดสินใจได้ ในแนวปฏิบัติ ผู้ที่มีความสงสัยลังเลใจ ไม่ อาจตัดสินใจทำสิ่งใดได้ ก็ไม่สามารถจะก้าวไปข้างหน้าได้ ไม่ว่าจะในด้านการดำรงชีวิต หรือในด้านการ เจริญภาวนาก็ตาม สมควรกำจัดนิวรณ์ข้อนี้เสียจึงจะสามารถพัฒนาจิตให้สูงขึ้นได้ ที่ผ่านมา เราได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีพื้นฐานในการเจริญสมาธิภาวนาไปแล้ว ซึ่งเมื่อได้ พิจารณาแล้วเราสามารถสรุปได้ว่า แท้จริงการเจริญสมาธิภาวนาก็คือ การทำใจของเราให้หยุดนิ่งอยู่ ภายในศูนย์กลางกายของตัวเราเอง กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ การดึงใจกลับเข้ามาสู่ภายใน ให้ใจอยู่กับเนื้อ กับตัวของเรา ในอารมณ์ที่สบาย นี้คือวิธีการทำให้เกิดสมาธิอย่างง่ายๆ และก็เข้าถึงอย่างรวดเร็ว คือ การดึงใจที่ซัดส่ายไปในอารมณ์ต่างๆ ในความคิดต่างๆ จะเป็นเรื่องครอบครัว ธุรกิจการงาน การศึกษาเล่าเรียน เรื่องสนุกสนานเฮฮา หรือเรื่องอะไรที่นอกเหนือจากนี้ก็ตาม ดึงกลับเข้ามาอยู่กับตัวของเรา ให้มามีอารมณ์เดียว ใจเดียว พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านใช้คำว่า “ให้ความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ 4 อย่างนี้รวมหยุดเป็นจุดเดียว ในอารมณ์ที่สบาย ที่กลางกายของเรา” อย่างนี้เรียกว่า วิธีทำให้เกิดสมาธิ คือ ฝึกใจให้หยุดให้นิ่งอยู่ภายใน สรุป การเจริญภาวนาเป็นงานสำคัญของชีวิตที่ต้องทำควบคู่ไปกับการทำทาน และการรักษาศีลการเจริญ ภาวนาเป็นของสากล เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนสามารถประพฤติปฏิบัติได้ ไม่จำกัดว่าบุคคลนั้นจะมีเชื้อชาติ ศาสนาใดก็ตาม การเจริญภาวนาเป็นการฝึกใจให้สงบหยุดนิ่งเป็นอารมณ์เดียว โดยปฏิบัติตามหลัก มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง คือ วางใจให้หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 อย่างต่อเนื่อง เมื่อใจ หยุดได้อย่างถูกส่วนแล้ว ก็จะเข้าถึงสภาวธรรมที่ลุ่มลึกไปตามลำดับ กิเลสทั้งหลายจะหลุดร่อนออกไปจาก ใจ จนกระทั่งเกิดการเห็นอันวิเศษ ทำให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง เข้าถึงธรรมะของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอันเป็นเป้าหมายสำคัญของชีวิตได้ในที่สุด มูลนิธิธรรมกาย, สาระสำคัญพระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร), (กรุงเทพมหานคร : บริษัท อัลตร้า พริ้นติ้ง จำกัด, 2541), หน้า 2 184 DOU บทที่ 10 ส า ร ะ ส าคัญ ของการเจริ ญ ภ า ว น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More