ข้อความต้นฉบับในหน้า
8.2.1 โทษของผู้ทุศีล 5 ประการ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโทษของการละเมิดแก่ชาวปาฏลิคามใน มหาปรินิพพานสูตร ว่ามี
5 ประการ คือ
1. ย่อมเข้าถึงความเสื่อมโภคทรัพย์อย่างมาก
2. กิตติศัพท์ที่ชั่วของผู้ทุศีลย่อมกระฉ่อนไป
3. เป็นผู้เก้อเขินเข้าไปสู่ชุมชนใดๆ
4. ย่อมเป็นผู้หลงทำกาละ
5. เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
1. ย่อมเข้าถึงความเสื่อมโภคทรัพย์อย่างมาก หมายความว่า ผู้ทุศีลย่อมไม่มีใครเชื่อถือไว้วางใจ
ส่งผลให้หน้าที่การงานไม่เจริญรุ่งเรือง ทรัพย์มรดกต่างๆ บิดามารดาก็ไม่อยากมอบให้ และทรัพย์ที่เกิดขึ้น
ย่อมฉิบหายหรือหมดโอกาสได้ใช้ อันเนื่องมาจากโทษภัยของการละเมิดศีล
2. กิตติศัพท์ที่ชั่วของผู้ทุศีลย่อมกระฉ่อนไป หมายความว่า บุคคลผู้ใกล้ชิด หรือร่วมอยู่ร่วมทำงาน
ด้วย ย่อมทราบพฤติกรรมดี เมื่อจะกล่าวถึงผู้ทุศีล ย่อมกล่าวถึงพฤติกรรมที่ไม่ดีตามที่ตนได้เห็นมา
3. เป็นผู้เก้อเขินเข้าไปสู่ชุมชนใดๆ หมายความว่า คนทุศีลมักจะกลัวความผิดของตน
ต้องคอยหลบๆ ซ่อนๆ แม้ความผิดนั้นจะไม่มีใครรู้ก็ตาม แต่เพราะตนรู้จึงกลัวว่าความผิดของตนจะถูกเปิดเผย
เกิดความแหนงใจขึ้นในตนเอง
4. ย่อมเป็นผู้หลงทำกาละ หมายความว่า ผู้ทุศีล เวลาทำความชั่วย่อมขาดสติยับยั้งชั่งใจ เมื่อ
ทำบ่อยๆ สติสัมปชัญญะที่มีก็ไม่สมบูรณ์ ครั้นถึงเวลาตาย กรรมนิมิตที่น่ากลัวมาปรากฏ ย่อมตายอย่างขาดสติ
5. เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต หมายความว่า ผู้ทุศีล เมื่อตายก็ตายอย่างขาดสติ
มีจิตที่เศร้าหมองเพราะกรรมที่ตนทำไว้มาปรากฏเป็นกรรมนิมิตให้เห็น เมื่อละโลกไปแล้ว ย่อมไปสู่อบายภูมิ
(ภพที่อยู่ของสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน) ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า “กรรมชั่วของตนเอง
ย่อมนำไปสู่ทุคติ”
8.2.2 โทษภัยของการผิดศีล 5 ในปัจจุบัน
เมื่อพิจารณาดูด้วยใจที่เป็นธรรม ก็จะเห็นโทษของการผิดศีล ที่เกิดขึ้นกับคนในสังคมปัจจุบัน
ได้อย่างชัดเจน คือ
2
มหาปรินิพพานสูตร, ทีฆนิกาย มหาวรรค, มก. เล่ม 13 ข้อ 79 หน้า 253-254
อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เรื่องพระติสสเถระ, มก. เล่ม 43 หน้า 19.
150 DOU บทที่ 8 อา นิ ส ง ส ข อ ง ก า ร รั ก ษ า ศีล