ข้อความต้นฉบับในหน้า
8.1.3 ศีลเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
อานิสงส์ของการรักษาศีลที่กล่าวมาแล้ว เป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคล หมายความว่า ใครรักษาศีลได้
ครบบริบูรณ์ ผู้นั้นย่อมได้รับอานิสงส์ดังกล่าว ซึ่งเกิดผลเฉพาะตัวแก่ผู้ปฏิบัติ แต่ถ้าบุคคลหมู่คณะใด เมืองใด
ประเทศใด พร้อมใจกันระมัดระวังมิให้การรักษาศีลขาดตกบกพร่องอานิสงส์ย่อมเกิดขึ้นครอบคลุมทั้งแผ่นดิน
เมืองนั้น ประเทศนั้น จะมีแต่ความอุดมสมบูรณ์ ประชาชนอยู่ดีกินดีกันทุกคน
ในทำนองกลับกัน ถ้าเมืองใด ประเทศใด มีผู้นำทุศีล ซึ่งทั้งนี้ย่อมหมายถึงว่า ประชาชนชาวเมือง
ทั้งหลาย ก็มีแนวโน้มเป็นผู้ทุศีลด้วย บ้านเมืองนั้นก็จะประสบทุพภิกขภัย คือ ความอดอยากยากแค้น ไป
ทั่วทุกหย่อมหญ้าด้วย ดังมีเรื่องปรากฏใน กุรุธรรมชาดก มีใจความโดยสังเขป ดังต่อไปนี้
ในอดีตกาลก่อนสมัยพุทธกาล เมื่อพระเจ้าธนัญชัยโกรพยะผู้เป็นเจ้าเมืองแคว้นกุรุรัฐเสด็จสวรรคต
แล้ว พระราชโอรสจึงได้เสวยราชสมบัติแทน ทรงพระนามว่าพระเจ้าธนัญชัยโกรพยะ พระมหากษัตริย์องค์
ใหม่นี้ ทรงดำรงมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม และทรงรักษากุรุธรรม คือ ศีล 5 อันเป็นธรรมเนียมของชาวกุรุ
รัฐเสมอมา พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนชาวเมืองทั้งหลาย ต่างก็ยึดมั่นในกุรุธรรมหรือศีล 5 เหมือนกัน
นอกจากนั้น พระองค์ยังได้สร้างโรงทานขึ้นในพระนครถึง 6 แห่ง ซึ่งแสดงถึงสภาพเศรษฐกิจที่ดีมาก
ส่วนเมืองทันตบุรี ซึ่งมีพระเจ้ากาลิงคราชเป็นกษัตริย์ปกครอง และอยู่ไม่ห่างจากแคว้นกุรุรัฐ
นักชาวเมืองต่างอดอยากยากแค้น ถูกโรคต่างๆ รบกวนอยู่เสมอ ทั้งนี้เพราะเกิดฝนแล้ง ข้าวยากหมากแพง
ประชาชนจึงพากันเข้าไปร้องทุกข์อยู่ที่ประตูพระราชวัง พระเจ้ากาลิงคราชจึงตรัสถามบรรดาราษฎรว่า
เมื่อฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลเช่นนี้ พระมหากษัตริย์แต่โบราณทรงมีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร ราษฎร
ทั้งหลายจึงกราบทูลว่า กษัตริย์ในครั้งนั้นจะทรงบริจาคทาน และทรงถืออุโบสถศีลอยู่ในปราสาทตลอด
7 วัน ฝนจึงจะตก ราษฎรก็จะหว่านข้าว ดำกล้า ทำมาหากินได้
พระเจ้ากาลิงคราชจึงทรงปฏิบัติตามคำกราบทูลของราษฎร แต่ฝนก็ยังไม่ตก พระองค์จึงทรง
ปรึกษาหารือกับบรรดาอำมาตย์ทั้งหลาย บรรดาอำมาตย์ทั้งหลายจึงกราบทูลให้ขอพญาช้างเผือกมงคล
จากพระเจ้าธนัญชัยโกรพยะ มาสู่ทันตบุรี ฝนก็จะตกบริบูรณ์
พระเจ้ากาลิงคราช จึงโปรดให้หาพราหมณ์ 8 คน เดินทางไปกรุงอินทปัตถ์ แคว้นกุรุ ทูลขอ
พญาช้างเผือกต่อพระเจ้าธนัญชัยโกรพยะ ตามคำกราบทูลของเหล่าอำมาตย์
พราหมณ์ทั้ง 8 คน จึงได้เดินทางไปขอช้างเผือกจากพระเจ้าธนัญชัยโกรพยะ พระองค์ก็
พระราชทานพญาช้างเผือกให้ด้วยความยินดี พราหมณ์จึงนำไปถวายพระเจ้ากาลิงคราช แต่ฝนก็ยังไม่ตก
ตามความปรารถนา
พระเจ้ากาลิงคราชจึงทรงปรึกษาหารือกับบรรดาอำมาตย์ เพื่อหาวิธีให้ฝนตกลงมาอีก
อรรถกถาขุททกนิกาย ติกนิบาตชาดก กุรุธรรมชาดก, มก. เล่ม 58 หน้า 190-213.
บทที่ 8 อ า น ส ง ส ข อ ง ก า ร รั ก ษ า ศีล DOU 145