ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระศาสดาทรงรับรองคำของพระอานนท์ และตรัสเช่นเดิม โดยทรงมุ่งให้พระนางได้บุญมาก
ได้อานิสงส์มากๆ เพราะการถวายสังฆทานมีผลมากกว่าปาฏิบุคคลิกทาน ดังพระดำรัสว่า
“ดูก่อนอานนท์
เราไม่กล่าวปาฏิบุคคลิกทานว่ามีผลมากกว่าสังฆทาน โดย
ปริยายใดๆ เลย สังฆทานเป็นประมุขของผู้หวังบุญ พระสงฆ์นั่นแหละเป็น
ประมุขของผู้บูชา และพระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า”
ในข้อนี้เราจะเห็นได้ว่า พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญจิตใจของผู้ให้โดยไม่เฉพาะเจาะจง (การให้
สังฆทาน) เป็นสำคัญ เพราะการให้เช่นนี้ แสดงถึงจิตใจที่มีพลังมาก มีเจตนากว้างขวาง เผื่อแผ่มาก ไม่เห็น
แก่คนที่คุ้นเคยกัน มุ่งหวังเพื่อให้แก่หมู่คณะเป็นสำคัญ และจะเป็นประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ในอนาคตกาล
ข้างหน้า ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
“เราไม่ดำรงอยู่นาน แต่ศาสนาของเรา จักตั้งอยู่ด้วยพระภิกษุสงฆ์ใน
ภายภาคหน้า ชนรุ่นหลังจงเคารพยำเกรงในสงฆ์ ถ้าเป็นเช่นนี้ พระศาสนา
จักตั้งอยู่ได้นาน”
อานิสงส์ของสังฆทาน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงอานิสงส์ของสังฆทานว่ามีผลมาก ดังเรื่องต่อไปนี้
เวลามสูตร
พราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อว่าเวลามะอยู่ในชมพูทวีปเวลามพราหมณ์นั้นเป็นคนมีจิตใจเลื่อมใสต่อการบริจาค
ทาน ได้จัดสร้างโรงทานขึ้นที่บ้านของตน และประกาศให้คนทั้งหลายที่อยู่ในชมพูทวีปนี้มารับทาน คือ
รับอาหารที่โรงทานนี้ได้ตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน หรือถ้าหากบุคคลใดไม่มีที่พักอาศัยหรือเครื่องนุ่งห่มแล้ว
ขอให้มาแจ้งความประสงค์ต่อตน จะได้จัดการให้ทานแก่ผู้นั้นโดยทั่วถึงทั้งหมด และในวันสุดท้ายได้ให้
ถาดทอง ถาดเงิน ถาดสำริด ซึ่งมีทองและเงินอยู่เต็มถาด อย่างละ 84,000 และช้าง รถ หญิงสาว บัลลังก์
ซึ่งประดับอย่างงดงาม อย่างละ 84,000 โคนมอีก 84,000 ตัว และผ้าคู่อีก 84,000 คู่ ทานที่เวลาม
พราหมณ์ทำนั้นได้ชื่อว่า “มหาทาน” อานิสงส์ของการให้มหาทาน มีมากน้อยเพียงไร พระพุทธองค์ทรง
เปรียบเทียบเป็นข้อๆ ไว้ ดังนี้
1 ทัททัลลวิมานสูตร, อรรถกถาขุททกนิกาย วิมานวัตถุ, เล่มที่ 48 หน้า 294
ทักขิณาวิภังคสูตร, อรรถกถามัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่มที่ 23 หน้า 402.
เวลามสูตร, อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต, เล่มที่ 37 ข้อ 224 หน้า 775.
บทที่ 2 ท า น คื อ อะไร DOU 33