วิธีการศึกษาและการเตรียมพร้อมสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเอง GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 8
หน้าที่ 8 / 214

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เสนอวิธีการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นไปที่การเตรียมตัวสำหรับการศึกษาแบบส่วนตัวรวมถึงการทำแบบประเมินตนเองก่อนและหลังการเรียน เพื่อให้แน่ใจว่านักศึกษาได้เข้าใจเนื้อหาต่างๆ ของบทเรียนอย่างถูกต้อง การให้เวลาในการศึกษาอย่างเหมาะสม และการสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งธรรมะ ถือเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ที่จะช่วยให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาในภาคทฤษฎีกับความรู้ในภาคปฏิบัติได้ดีขึ้น การทำแบบประเมินตนเองก่อนเรียนจะช่วยให้นักเรียนรู้ว่ามีความรู้พื้นฐานอยู่ที่ไหน และควรมีการทบทวนหรือปรับแก้เนื้อหาส่วนใดในระหว่างการศึกษา จึงจะทำให้กระบวนการเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

หัวข้อประเด็น

-การเตรียมตัวศึกษา
-แบบประเมินตนเองก่อนเรียน
-แบบประเมินตนเองหลังเรียน
-การค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม
-การเชื่อมโยงทฤษฎีกับการปฏิบัติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

วิธีการศึกษา 1. การเตรียมตัวเพื่อการศึกษาด้วยตนเอง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การศึกษาชุดวิชานี้ การศึกษาบทเรียนแต่ละบท นักศึกษาควรปฏิบัติตาม ขั้นตอนดังนี้ ก. ภายใน 1 บทเรียน ควรมีเวลาศึกษาอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง และควรศึกษาให้จบภายใน ระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ ข. ก่อนศึกษาบทเรียน ให้นักศึกษาทำแบบประเมินตนเองก่อนบทเรียน เพื่อทดสอบความรู้ความ เข้าใจ ในแบบฝึกปฏิบัติประกอบวิชา GL 203 กฎแห่งกรรม เมื่อศึกษารายละเอียดบทเรียนจบแล้ว ให้ทำ แบบประเมินตนเองหลังเรียนอีกครั้งเพื่อทดสอบความรู้ที่ศึกษามา และบันทึกสาระสำคัญลงในกิจกรรม ประกอบบทเรียนนั้นๆ ซึ่งได้กำหนดหัวข้อในการบันทึกไว้ให้แล้ว เพื่อ ค. ปลีกเวลาศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากสื่อธรรมะของโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา ตั้งแต่เวลา 19.30-21.45 น. หรือศึกษาหาความรู้โดยสังเกตเหตุการณ์ที่เป็นกฎแห่งกรรมรอบตัว เชื่อมโยงความรู้ระหว่างภาคทฤษฎีกับความรู้ภาคปฏิบัติ จะทำให้เข้าใจความจริงของชีวิตเพิ่มขึ้น เพราะ กฎแห่งกรรมนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นและพบเห็นอยู่ทุกวัน 2. การประเมินผลตนเองก่อนและหลังเรียน ก่อนที่จะเข้าไปศึกษารายละเอียดของแต่ละบทเรียน ขอให้นักศึกษาประเมินความรู้ของตนเองใน แบบฝึกปฏิบัติประกอบชุดวิชา GL 203 กฎแห่งกรรม โดยมีลำดับขั้นตอนการทำแบบฝึกปฏิบัติดังนี้ ก. ทำแบบประเมินตนเองก่อนเรียน เพื่อทดสอบพื้นฐานความรู้เดิมของนักศึกษาว่ามีความรู้ใน เนื้อหาที่จะศึกษาของบทนั้นๆ มากน้อยเพียงใด หลังจากทดสอบตนเองแล้ว ควรสังเกตว่านักศึกษายังไม่ ทราบหรือยังไม่เข้าใจในเรื่องใด ให้เอาใจใส่รายละเอียดเนื้อหาตรงนั้นอย่างเป็นพิเศษในระหว่างการศึกษา บทเรียน ข. ทำแบบประเมินตนเองหลังเรียน หลังจากศึกษารายละเอียดเนื้อหาของแต่ละบทเรียนจบแล้ว ขอให้นักศึกษาทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนอีกครั้ง เพื่อทดสอบว่านักศึกษามีความรู้ความเข้าใจใน เนื้อหานั้นเพิ่มเติมขึ้นมากน้อยเพียงใด ซึ่งกรณีนี้หากยังเลือกคำตอบผิด นักศึกษาควรกลับไปศึกษาซ้ำอีกครั้ง ค. การประเมินตนเองเป็นเกณฑ์ทดสอบเบื้องต้นให้ทราบว่านักศึกษามีความเข้าใจเนื้อหามาก วิ ธี ก า ร ศึ ก ษ า DOU (7)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More