รูปแบบการถือกำเนิดกายหยาบของสรรพสัตว์ตามพุทธศาสนา GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 20
หน้าที่ 20 / 214

สรุปเนื้อหา

เนื้อหากล่าวถึง 4 รูปแบบการถือกำเนิดกายหยาบของสรรพสัตว์ที่พระพุทธองค์ตรัส ได้แก่ ชลาพุชะ, อัณฑชะ, สังเสทชะ และโอปปาติกะ ตามกรรมของแต่ละตัว. ความสำคัญของกรรมในชีวิตเป็นไปตามภูมิและกฎแห่งกรรม. การเวียนตายของสัตว์แบ่งเป็นสองคติคือ สุคติภูมิสำหรับผู้ทำดีซึ่งมีโอกาสนำไปสู่นิพพานเมื่อทำลายกิเลสได้ และอบายภูมิที่มีสัตว์มากมาย. พระพุทธองค์ได้ทรงเปรียบการเกิดเป็นมนุษย์ว่าเหมือนฝุ่นในเล็บมือขณะที่การเกิดในอบายมีมากพอสมควร.

หัวข้อประเด็น

-การถือกำเนิด
-กรรม
-สุคติภูมิ
-พระนิพพาน
-อบายภูมิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

รูปแบบการถือกำเนิดกายหยาบของสรรพสัตว์ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้มีอยู่ด้วยกัน 4 แบบ โดย กรรมจำแนกให้ถือกำเนิดแบบต่ำต้อยด้อยคุณภาพ หรือให้ถือกำเนิดแบบละเอียดอ่อนมีคุณภาพ ได้แก่ 1. แบบชลาพุชะ คือ ถือกำเนิดในครรภ์ 2. แบบอัณฑชะ คือ ถือกำเนิดในฟองไข่ 3. แบบสังเสทชะ คือ ถือกำเนิดในเหงื่อไคล ของเน่าเสีย ของโสโครก 4. แบบโอปปาติกะ คือ ถือกำเนิดแล้วเติบโตทันที เมื่อเหล่าสัตว์ถือกำเนิดตามรูปแบบโดยจำแนกไปตามกรรมของตนแล้ว ระหว่างการดำรงชีวิต เมื่อละโลกแล้วจะแยกขอบเขตภพภูมิที่รองรับการเวียนเกิด ยังประกอบกรรมมากมายทั้งดีและชั่วสลับกัน เวียนตายของสรรพสัตว์ในสังสารวัฏออกเป็น 2 คติ คือ 1. สุคติภูมิ คือ สถานที่รองรับผู้ที่กระทำความดี มีความเป็นอยู่สุขสบายทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ผู้ที่จะมาบังเกิดในภพภูมินี้จะต้องเป็นสัมมาทิฏฐิบุคคล คือ มีความเห็นถูกในเรื่องกฎแห่งกรรม มีจิตใจสูง ส่งเป็นกุศลธรรม จึงชักนำให้ประกอบกุศลกรรม 3 ทาง ได้แก่ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ เมื่อละโลก ด้วยอานิสงส์ผลบุญที่ประกอบไว้ขณะมีชีวิต จะไปบังเกิดอยู่ในสุคติภูมิ ได้แก่ มนุษยภูมิ เทวภูมิ แต่ก็ยัง เป็นภพภูมิของสัตว์ที่ยังไม่สิ้นกิเลสยังต้องเวียนเกิดเวียนตาย ซึ่งอาจจะพลาดพลั้งเผลอสติทำอกุศลกรรมได้ แต่ถ้าว่าสามารถทำลายกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นได้ก็จะเข้าสู่พระนิพพาน ไม่ต้องหวนกลับมาเกิดในภพ 3 คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ อีกต่อไป กิเลสไม่สามารถครอบงำ กรรมที่รอส่งผลจำนวนมากก็จะไม่สามารถให้ ผลได้อีกต่อไป เพราะกิเลสจะครอบงำได้เฉพาะสัตว์ที่บังเกิดในภพ 3 พระพุทธองค์ตรัสว่า แม้จะได้บังเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา แล้วก็ตาม แต่การจะได้กลับมาเกิดใน สุคติภูมิเช่นนี้อีกยากมาก และก็มีน้อยมาก ทรงอุปมาดังต่อไปนี้ คือ ทรงอุปมา สัตว์ที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์ เปรียบเหมือนฝุ่นในเล็บมือมีปริมาณน้อยกว่าฝุ่นทั้งแผ่นดิน ฉันใด สัตว์ที่จะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ย่อมมีน้อยเหมือนฝุ่นในเล็บมือ ส่วนสัตว์ที่จะไปเกิดในอบายมีมาก เหมือนฝุ่นทั้งแผ่นดิน ฉันนั้น ทรงอุปมา มนุษย์และเทวดาจะจุติกลับมาเกิดเป็นมนุษย์และเทวดาอีกนั้นมีน้อย เหมือนฝุ่นใน เล็บมือ แต่มนุษย์และเทวดาที่จุติแล้วไปบังเกิดในอบายภูมิมีมากกว่า เหมือนฝุ่นทั้งแผ่นดิน จูฬกัมมวิภังคสูตร, มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่ม 23 ข้อ 580 หน้า 251 2 สามัญญผลสูตร, ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค, มก. เล่ม 11 ข้อ 137 หน้า 332 ในขลิขสูตร, สังยุตตนิกาย นิทานวรรค, มก. เล่ม 26 ข้อ 663 หน้า 727 * อามกธัญญเปยยาล, สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, มก. เล่ม 31 ข้อ 1792 หน้า 503 10 DOU กฎ แ ห่ ง ก ร ร ม
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More