ข้อความต้นฉบับในหน้า
ตารางสรุปภาพรวมหลักคำสอน
ไตรปิฎก
ไตรสิกขา
มรรค 8
สัมมาวาจา วาจาถูก
วินัยปิฎก
21,000 ธรรมขันธ์
ศีล
สัมมากัมมันตะ การงานถูก
สัมมาอาชีวะ อาชีพถูก
สัมมาวายามะ เพียรถูก
สรุปคือ
ความไม่ประมาท
สุตตันตปิฎก
21,000 ธรรมขันธ์
สมาธิ
สัมมาสติ
ระลึกถูก
สัมมาสมาธิ
จิตตั้งมั่นถูก
อภิธรรมปิฎก
42,000 ธรรมขันธ์
สัมมาทิฏฐิ
เห็นถูก
ปัญญา
สัมมาสังกัปปะ คิดถูก
ในระหว่างการเวียนว่ายตายเกิดนั้นกฎแห่งกรรมของแต่ละชีวิตทำงานกันอย่างเต็มที่ ไม่หยุดพัก
ได้โอกาสเมื่อไรจะส่งผลให้ทันที ดังจะเห็นได้ว่า ชีวิตของเราเองเดี๋ยวก็ดีเดี๋ยวก็ร้าย กรรมดีให้ผลก็เป็นสุข
เมื่อไรกรรมชั่วเบ่งบานเมื่อนั้นก็ทุกข์ระทมกันแสนสาหัส ซึ่งบุคคลที่เวียนเกิดมาเป็นมนุษย์มีลักษณะ 4 แบบ
ดังนี้
1) บุคคลมืดมามืดไป คือ เกิดเป็นมนุษย์อยู่ในตระกูลตกต่ำประพฤติทุจริตทางกาย วาจา ใจ
เมื่อละโลกจึงไปสู่ทุคติภูมิ
2) บุคคลมืดมาสว่างไป คือ เกิดเป็นมนุษย์อยู่ในตระกูลตกต่ำแต่ใจไม่ตกต่ำ ประพฤติสุจริตทาง
กาย วาจา ใจ เมื่อละโลกจึงไปสู่สุคติภูมิ
3) บุคคลสว่างมามืดไป คือ เกิดเป็นมนุษย์อยู่ในตระกูลสูงแต่ใจตกต่ำ ประพฤติทุจริตทางกาย
วาจา ใจ เมื่อละโลกจึงไปสู่ทุคติภูมิ
4) บุคคลสว่างมาสว่างไป คือ เกิดเป็นมนุษย์อยู่ในตระกูลสูงจิตใจสูง ประพฤติสุจริตทางกาย วาจา
ใจ เมื่อละโลกจึงไปสู่สุคติภูมิ
มวลหมู่สรรพสัตว์มีมนุษย์เท่านั้นที่สามารถกำจัดกิเลสอาสวะยุติการเวียนว่ายตายเกิดได้มากที่สุด
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะยุติวังวนแห่งชีวิตนี้ได้จะต้องผ่านกระบวนการฝึกหัดขัดเกลากาย วาจา และจิตใจ ตาม
หลักไตรสิกขาและดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ 8 ยิ่งขัดเกลาจิตให้บริสุทธิ์ได้มากเท่าไรการเวียนว่ายตาย
เกิดก็น้อยลงไปตามนั้น
1
ปุคคลสูตร, สังยุตตนิกาย สคาถวรรค, มก. เล่ม 24 ข้อ 393 หน้า 502
188 DOU กฎ แ ห่ ง ก ร ร ม