ทรรศนะเรื่องการล้างบาปในพระพุทธศาสนา GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 132
หน้าที่ 132 / 214

สรุปเนื้อหา

บทที่ 6 เน้นการล้างบาปในพระพุทธศาสนาและการเปรียบเทียบกับศาสนาอื่น เช่น คริสต์ และพราหมณ์ โดยจะเสนอแนวคิดเกี่ยวกับบาปและกรรม ที่ส่งผลต่อการกระทำและความสุขในชีวิต นักศึกษาได้เรียนรู้กรอบคำสอนต่าง ๆ เพื่อเพิ่มมุมมองในการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องและมีความดี.

หัวข้อประเด็น

- การล้างบาปในพระพุทธศาสนา
- การเปรียบเทียบกับศาสนาอื่น
- มุมมองทางศาสนา
- ความสำเร็จทางจิตใจ
- การปฏิบัติตนตามคำสอน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 6 ทรรศนะเรื่องการล้างบาปในพระพุทธศาสนา ศาสนาในโลกมีอยู่มากมายหลายศาสนา หากนับรวมศาสนาเล็กศาสนาน้อยด้วย แต่หากนับเฉพาะ ศาสนาหลักที่มีความสำคัญต่อการยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์ และมีจำนวนศาสนิกผู้นับถือจำนวนมากทั่วโลก มีอยู่ 3 ศาสนา คือ พุทธ คริสต์ อิสลาม ซึ่งแต่ละศาสนานั้นก็มีความเชื่อและหลักปฏิบัติของตนที่แตกต่าง กันไป แนวคิดในการนำเสนอทรรศนะเรื่องการล้างบาปในพระพุทธศาสนานี้ เนื่องมาจากหลายศาสนา ในโลกมีคำสอนที่เชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้าผู้สร้างทุกสิ่ง และมีศาสดาเป็นผู้ไถ่บาป หรือการที่ศาสนิกของตน กระทำผิดแล้วสามารถกระทำตนให้บริสุทธิ์ด้วยการสารภาพบาปหรือล้างบาปในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ได้ ทำให้ เกิดข้อสงสัยและเป็นประเด็นที่มักจะหยิบยกขึ้นมาพูดคุยกันบ่อยครั้งว่า “บาปที่บุคคลทำแล้วล้างได้จริงหรือ” ดังนั้น ในฐานะที่นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ ที่ทราบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้เชื่อ เรื่องกฎแห่งกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ดังที่นักศึกษาได้ศึกษาผ่านมาแล้ว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะ ต้องศึกษาแนวคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในทรรศนะเรื่องการล้างบาป และวิธีการทำตนให้บริสุทธิ์ ในพระพุทธศาสนา โดยเปรียบเทียบจากแนวความคิดหรือคำสอนเรื่องการล้างบาปในศาสนาอื่นที่มีการ กล่าวถึง เพื่อเสริมความรู้ให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องนี้ได้กว้างขึ้น อีกทั้งยังจะสามารถปฏิบัติตนตามหลัก คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างถูกต้อง ก่อให้เกิดความสำรวมระวังในการกระทำบาปยิ่งขึ้น และ เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขในโลกนี้และโลกหน้า 6.1 ทรรศนะเรื่องการล้างบาปในศาสนาอื่น ในหัวข้อที่ 6.1 นี้ นักศึกษาจะได้ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเรื่องความจำเป็นในการมีศาสนาโดยรวม เรื่อง การล้างบาปในศาสนาอื่นๆ ที่มีการกล่าวถึงเรื่องการล้างบาป ซึ่งในที่นี้ ขอยกตัวอย่างเพียง 2 ศาสนาที่มี การกล่าวถึงอย่างเด่นชัด คือ ศาสนาคริสต์และศาสนาพราหมณ์ ส่วนเรื่องการเปรียบเทียบคำสอน ระหว่างศาสนานั้น มิได้มุ่งเน้นที่จะยกคำสอนของศาสนาใดศาสนาหนึ่งขึ้นมาเพื่อข่มคำสอนของศาสนาอื่น แต่เป็นการสะท้อนมุมมองของคำสอนที่แตกต่างกัน เพื่อให้นักศึกษาได้พิจารณาเปรียบเทียบด้วยตนเอง และมีมุมมองในศาสนาอื่นๆ ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น 122 DOU ก ก แ ห่ ง ก ร ร ม
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More