ข้อความต้นฉบับในหน้า
7) มารดาไม่มี
8) บิดาไม่มี
9) อุปปาติกสัตว์ไม่มี
10) ในโลกนี้ไม่มีสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ชนิดที่ทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งเอง แล้ว
ประกาศโลกนี้และโลกหน้า
ทั้งหมดนี้เรียกว่า ความเห็นผิด หรือเรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ ถ้าคนใดคิดเห็นเช่นนี้ก็จะเรียกว่า
มิจฉาทิฏฐิบุคคล เพราะคนที่เห็นผิดไม่ได้คิดอย่างเดียวแต่เขาปฏิบัติตามความคิดของตนด้วย ซึ่งสามารถ
จัดกลุ่มแนวความคิดเห็นผิดๆ พวกนี้ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่
1.3.1 นัตถิกทิฏฐิ มีความคิดเห็นว่า ผลของกรรมไม่มีใจไม่มีกลุ่มนี้หลงถือว่าตนเป็นพวกหัวก้าวหน้า
ช่างคิดหาเหตุผล แต่ทว่าดื้อรั้น ทำตัวเป็นข้าศึกต่อพระอรหันต์ มีความเห็นผิด
1.3.2 อกิริยทิฏฐิ มีความคิดเห็นว่า บุญและบาปไม่มี คือ ใครก็ตามที่ทำกรรมดีด้วยตนเอง
หรือสั่งให้ผู้อื่นทำ เขาก็ไม่ได้บุญ และใครก็ตามที่ทำกรรมชั่ว หรือสั่งให้ผู้อื่นทำ เขาก็ไม่ได้บาป ปฏิเสธ
กฎแห่งกรรมและศีลธรรมอย่างสิ้นเชิง
1.3.3 อเหตุกทิฏฐิ มีความคิดเห็นว่า ไม่มีเหตุปัจจัยที่ทำให้คนเราเศร้าหมองหรือบริสุทธิ์ ทุกข์
หรือสุข จึงเห็นว่าชีวิตของคนเราแปรผันไปตามเคราะห์กรรม ความเกิดและภาวะ คือเชื่อดวง จึงไม่คิด
พัฒนาตนด้วยกรรมดี หรือจะกล่าวว่ากรรมที่บุคคลทำไว้แล้วในอดีตไม่มีผลไปถึงในอนาคต ทุกอย่างมัน
เป็นไปของมันเอง เรามีหน้าที่อยู่นิ่งๆ เฉยๆ ก็พอ
ดังนั้น มิจฉาทิฏฐิเป็นเหตุให้ใจคนเรามืดมิดด้วยอำนาจกิเลส แล้วผลักดันบีบคั้นให้ก่อกรรมชั่วต่างๆ
ซึ่งนอกจะก่อให้เกิดทุกข์เกิดปัญหาสังคมในชาตินี้แล้วยังจะพาตนและเพื่อนร่วมชาติไปนรกในชาติหน้าอีกด้วย
เพราะเหตุนี้พระพุทธองค์จึงตรัสว่ามิจฉาทิฏฐินั้นมีโทษยิ่งกว่าอกุศลธรรมใดๆ เป็นการแสดงความไม่รับผิด
ชอบต่อสิ่งใดๆ ทั้งปวง ปฏิเสธคัดค้านสิ่งดีๆ ทุกอย่าง
ทำไมเราจึงต้องเรียนรู้เรื่องมิจฉาทิฏฐิ มีหลักให้คิดอยู่ว่า คนที่คุ้นเคยกับความสกปรก เมื่อมีใคร
พูดสรรเสริญความสะอาด เขาก็จะจินตนาการไม่ออกว่า สิ่งที่เรียกว่าความสะอาดเป็นอย่างไร มีคุณ
ประโยชน์จริงหรือไม่ประการใด ต่อเมื่อเขาได้เห็นทั้งสองสิ่ง คือความสกปรก และความสะอาดเปรียบเทียบ
กันแล้ว เขาจะเข้าใจทันทีว่า ความสะอาดนี้ช่างมีคุณค่าเหลือหลาย โดยทำนองเดียวกันการที่บุคคลเกิด
สัมมาทิฏฐิเห็นถูกอย่างถ่องแท้ ก็จำเป็นจะต้องเข้าใจเรื่องที่ทำให้เกิดความเห็นผิดอย่างถ่องแท้ด้วย
มิฉะนั้นก็จะยังสงสัยลังเลทั้งคุณของสัมมาทิฏฐิ ทั้งโทษของมิจฉาทิฏฐิ
ว่าด้วยมิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิ, อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต, มก. เล่ม 33 ข้อ 183 หน้า 182
บท ที่ 1 ค ว า ม รู้เบื้ อ ง ต้ น เ รื่ อ ง ก า แ ห่ ง ก ร ร ม
เ
DOU 29