ข้อความต้นฉบับในหน้า
1.1 วังวนแห่งชีวิต
บทที่ 1
ความรู้เบื้องต้นเรื่องกฎแห่งกรรม
“อเนกชาติสํสาร์
คหการ คเวสนฺโต
คหการก ทิฏโฐสิ
สพพา เต ผาสุกา ภคคา
วิสงฺขารคต จิตต์
สนธาวิสส์ อนิพฺพิส
ทุกขา ชาติ ปูนปูน
ปุน เคห์ น กาฬสิ
คหกูฏ วิสงฺขต
ตณฺหาน ขยมชุมคา
เราแสวงหาช่างผู้ทำเรือน เมื่อไม่ประสบได้ท่องเที่ยวไปสู่สังสาระ (การเกิด)
ไม่ใช่เพียงชาติเดียว ความเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ แน่ะนายช่างผู้ทำเรือน
เราพบท่านแล้ว ท่านจะทำเรือนอีกไม่ได้ ซี่โครงทุกซี่ของท่านเราหักเสียแล้ว
ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว จิตของเราถึงธรรมปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว
เพราะเราบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาแล้ว”
พุทธวจนะบทนี้ เป็นคำตรัสรับรองจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ธรรมชาติของสรรพสัตว์เมื่อเกิด
แล้วก็ต้องตาย หนีไม่พ้น ซึ่งก็วนเวียนสู่การเกิดการตายกันมาแล้วอย่างมากมาย ไม่ใช่เกิดตายเพียงครั้ง
เดียวแต่นับไม่ถ้วน เพราะแม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก ผู้ทรงฤทธิ์เดช
เหาะเหิน เดินอากาศ สามารถขจัดกิเลสอาสวะได้ ก็ยังต้องเวียนตายเวียนเกิดอยู่นาน กว่าจะพ้นจากชีวิต
ในสังสารวัฏ แม้พบชาติสุดท้ายของท่านเหล่านี้ก็ยังจะต้องเผชิญกับกฎแห่งกรรม อีกทั้งยังทำให้ทราบถึง
ความมีอยู่ของสังสารคือการเวียนเกิดเวียนตายและผู้ที่สามารถคอยควบคุมบังคับบัญชาให้สรรพสัตว์เวียน
ว่ายอยู่ในวังวนแห่งชีวิตอยู่ตลอดเวลาซึ่งไม่ต่างอะไรกับคุกที่ใช้สำหรับคุมขังนักโทษผู้กระทำผิดกฎที่กำหนดไว้
เมื่อทำแล้วก็มีผลคือต้องไปรับผลของการกระทำในภพภูมิต่างๆ โดยกรรมของตนที่กระทำไว้จะนำเจ้าของ
กรรมนั้นไปเกิด ซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงและไม่อาจเลือกได้ วงจรนี้เรียกว่า สังสารวัฏ บางทีก็เรียกว่า วัฏสงสาร
หรือวังวนแห่งชีวิต คือ วงจรชีวิตหลังความตายของสรรพสัตว์ที่เวียนว่ายตายเกิดไปสู่ปรโลก ซึ่งวงจรนี้เอง
ที่เราจะต้องทราบความเป็นมาของมันอย่างถ่องแท้ตามแบบอย่างที่พระพุทธองค์ทรงปฏิบัติ สังสารวัฏเป็น
1
ชราวรรค, ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท, มก. เล่ม 42 ข้อ 21 หน้า 141
4 DOU ก ฏ แ ห่ ง ก ร ร ม