กฎแห่งกรรมและการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 27
หน้าที่ 27 / 214

สรุปเนื้อหา

กฎแห่งกรรมเป็นเรื่องสำคัญที่ควรศึกษาเพื่อความปลอดภัยในชีวิต ข้อตกลงในการเข้าใจบุญและบาปจะเป็นหลักในการวางแผนชีวิต ทั้งนี้ การมีจิตใจที่ผ่องใสจะส่งผลต่อผลหลังความตาย ซึ่งจะทำให้เข้าสู่สุคติโลกสวรรค์ได้ ต่างกับจิตที่เศร้าหมองที่จะต้องพบกับอบาย ประการสำคัญคือการเลือกแบบอย่างจากผู้พ้นจากกิเลสในการทำบุญเพื่อไม่ตกไปในอบาย

หัวข้อประเด็น

-กฎแห่งกรรม
-บุญและบาป
-การเตรียมตัวก่อนตาย
-การศึกษาพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

กฎแห่งกรรมจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องศึกษาเรียนรู้ ไม่รู้อันตราย ถ้ารู้แล้วเอาตัวรอดปลอดภัยได้ แม้ยังไม่หมดกิเลส แต่ก็จะมีชีวิตอยู่ในสังสารวัฏได้อย่างปลอดภัยไม่พลัดไปสู่อบายภูมิที่มีความทุกข์ทรมาน มาก จะท่องเที่ยวสร้างบารมีอยู่เพียงสองภพภูมิ คือ มนุษยโลกกับเทวโลก ซึ่งการศึกษาเรื่องกฎแห่งกรรม อย่างถ่องแท้จะทำให้เราดำเนินชีวิตด้วยการสั่งสมบุญบารมีมากกว่า ส่วนที่จะผิดพลาดน้อย ผิดจะไม่ค่อย มี แต่จะมีอยู่เพียงแค่พลาดพลั้ง เผอเรอ ประมาทเลินเล่อ แม้เวลาตายก็จะตายเป็น พร้อมที่จะตายอย่าง ถูกหลักวิชชาหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา ดังพุทธพจน์ที่ว่า “จิตฺเต สงฺกิลิฏเฐ ทุคคติ ปาฏิกงฺขา จิตฺเต อสงฺกิลิฏเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา เมื่อจิตเศร้าหมอง ทุคติเป็นอันหวังได้ เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติเป็นอันหวังได้ 1 กล่าวโดยสรุป คือ ตัดสินกันช่วงเวลาก่อนตายว่าจิตขณะนั้นผ่องใสหรือหมอง ถ้าจิตผ่องใสเพราะ สิ้นระแวงก็ไปสบายไปสู่สุคติโลกสวรรค์ ใจใสขึ้นอยู่กับบุญกุศลที่สั่งสมไว้ แต่ถ้าจิตหมองมัวก็ต้องไปอบาย ใจหมองขึ้นอยู่กับบาปอกุศลที่เคยกระทำไว้ ซึ่งจะต้องศึกษาต่อไปว่า อะไรเป็นบุญกุศล อะไรเป็นบาป อกุศล หากไม่ศึกษาก็จะไม่ทราบว่าควรยึดถือใครเป็นเกณฑ์เป็นต้นแบบในการประกอบบุญกุศล เกณฑ์ของ บุญกุศลจะต้องเอาท่านผู้ที่หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ รู้แจ้งเห็นแจ้งแทงตลอดในธรรมทั้งปวง เอาความรู้ ความเห็นคำสั่งสอนคำแนะนำของท่านเป็นหลัก เพราะท่านที่หมดกิเลสแล้วทำอะไรไม่หวังผลตอบแทน ไม่มีเรื่องผลประโยชน์ มีแต่คุณประโยชน์ และคุณงามความดีล้วนๆ พอจับหลักได้ก็ทำตามนั้น คือ ทำแต่ กุศลกรรม บุญก็เกิด เมื่อบุญเกิดก็ละอกุศลกรรมได้ บุญจะทำหน้าที่กลั่นจิตใจให้ผ่องใส ดังนั้นเราต้องการ ผลอย่างไรก็ทำเหตุอย่างนั้น เพราะชีวิตหลังความตายไม่มีการทำมาหาเลี้ยงชีพ ชีวิตในปรโลกของสัตว โลกเป็นอยู่ด้วยบุญและบาป ดีและชั่วเท่านั้น ไม่ใช่ตัดสินที่ความรวย หล่อ สวย เก่ง เฮง ไม่ใช่อย่างนั้น คำว่า กรรม รากศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลีว่า กมุม (กัมมะ) ภาษาสันสกฤตใช้ว่า กรม ด้วยเหตุที่ ภาษาสันสกฤตค่อนข้างมีอิทธิพลในประเทศไทยช่วงยุคขอมและด้วยการออกเสียง กรม ไม่ชัด จึงควบกล้ำ ร เป็นกรรมทำให้ออกเสียงชัดกว่า ซึ่งถือว่าเป็นภาษาถิ่นแต่ก็ยังคงความหมายเดิม กรรมเป็นคำกลางๆ แปลว่า การกระทำ แต่เมื่อจะตัดสินการกระทำนั้นว่าเป็นกรรมหรือไม่ และเป็นกรรมฝ่ายใดประเภทใด จะต้องดูที่ วัตถุปมสูตร, มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่ม 17 ข้อ 92 หน้า 433 บ ท ที่ 1 ค ว า ม ามรู้เบื้อ อ ง ต้ น เ รื่ อ ง ก า แ ห่ ง ก ร ร ม DOU 17
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More