การทำสังฆเภทและผลกระทบต่อสงฆ์ในพระพุทธศาสนา GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 93
หน้าที่ 93 / 214

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการทำสังฆเภทในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะกลยุทธ์การกล่าวกระซิบและการเขียนสลากเพื่อยุยงให้พระภิกษุเชื่อมตามลัทธิที่ผิดจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศึกษากรณีของพระเทวทัตที่พยายามปกครองสงฆ์ถึงขั้นใช้อิทธิปาฏิหาริย์และการปล้นพระชนม์พระพุทธเจ้าบางครั้ง พบว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมีความสำคัญต่อการรักษาหรือการแตกแยกในสงฆ์ การปฏิบัติตามวินัยและหลักคำสอนของพระพุทธเจ้ายังคงมีความสำคัญในกรณีของการวิวาทและการแยกย้ายออกจากกัน.

หัวข้อประเด็น

-การทำสังฆเภท
-พระเทวทัต
-กลยุทธ์การปกครองสงฆ์
-ผลกระทบต่อพระภิกษุ
-การรักษาศรัทธาในพระพุทธเจ้า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

4. อนุสาวเนนะ คือ การกล่าวกระซิบว่ากล่าวเล้าโลมใกล้หูของพวกภิกษุ เพื่อให้ภิกษุทั้งหลาย ลุ่มหลงเชื่อถ้อยคำของตน และให้ถือลัทธิของตนซึ่งเป็นลัทธิที่ผิดจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 5. สลากัดคาเหนะ คือ การเขียนสลากให้พวกภิกษุจับ เพื่อไม่ให้ภิกษุเหล่านั้นเปลี่ยนใจกลับไป เข้าพวกเดิม จะได้ยึดมั่นอยู่ในพวกของตนที่กล่าวตู่พระพุทธพจน์นั้น อาการที่จับสลากก็เป็น เล่ห์กลเพื่อให้ภิกษุเหล่านั้นจับถูกสลากที่ตนต้องการให้จับ ภิกษุผู้มุ่งที่จะทำสังฆเภท ได้กระทำเหตุครบ 5 ประการนี้แล้ว เมื่อภิกษุทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม มีความเห็นตามลัทธิของภิกษุนั้น ซึ่งผิดจากพระพุทธพจน์ ได้พร้อมเพรียงกันแยกออกจากสงฆ์ คือ 9 รูปก็ดี หรือเกินกว่า 9 รูปก็ดี ไปทำสังฆกรรมต่างหากจากพระภิกษุที่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ในกรณีเช่นนี้ พระภิกษุสงฆ์จึงจะได้ชื่อว่าแตกแยกออกจากกัน และพระภิกษุที่เป็นตัวการในเรื่องนี้ ย่อมได้ชื่อว่ากระทำ สังฆเภท ต้องอนันตริยกรรม แต่ถ้าในกรณีที่ภิกษุทั้งหลายแม้จะได้รับการยุยงจากภิกษุผู้มุ่งจะทำสังฆเภทแล้ว ก็ไม่ได้เชื่อ ถ้อยคำของภิกษุนั้น ยังมีความเคารพเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและยังปฏิบัติตามพระพุทธบัญญัติอยู่ แต่ว่าเกิดทะเลาะวิวาทขัดแค้นใจกันด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง จึงยกพวกแยกออกจากหมู่ไปอยู่ที่อื่นและทำ สังฆกรรมต่างหาก กรณีเช่นนี้พระภิกษุผู้มุ่งจะทำร้ายสังฆเภทและกล่าวยุยงสงฆ์ให้แตกแยกกันนั้นไม่ต้อง อนันตริยกรรม กรณีศึกษาจากพระไตรปิฎก เรื่องพระเทวทัตทำสังฆเภท เทวทัตราชกุมารได้มีศรัทธาออกบวชพร้อมด้วยเจ้าศากยวงศ์ทั้ง 7 พระองค์ เมื่อพระเทวทัตบวช แล้วก็สามารถยังฌานโลกีย์ให้บังเกิดขึ้นได้ แต่กลับเกิดความปริวิตกในเรื่องลาภสักการะจึงคิดอยากจะ ปกครองสงฆ์เสียเอง จึงได้เข้าไปหาอชาตศัตรูกุมาร โดยใช้อิทธิปาฏิหาริย์จนทำให้อชาตศัตรูกุมาร เลื่อมใสตน เมื่อพระเทวทัตทำให้อชาตศัตรูกุมารเลื่อมใสแล้ว ก็ได้เข้าไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อทูลขอ ปกครองสงฆ์ แต่กลับถูกพระพุทธองค์ตรัสห้าม ทำให้พระเทวทัตโกรธ น้อยใจและผูกอาฆาตในพระบรม ศาสดาและได้ใช้วิธีการต่างๆ ในการปลงพระชนม์พระพุทธองค์ เช่น ให้อชาตศัตรูกุมารส่งราชบุรุษไป ปลงพระชนม์ ปล่อยช้างนาฬาคีรีให้ไปทำร้ายพระองค์ และทำให้พระพุทธองค์ทรงห้อพระโลหิต แต่ก็ไม่ สามารถที่จะปลงพระชนม์พระบรมศาสดาได้เลยสักครั้งเดียว สังฆเภทขันธกะ, พระวินัยปิฎก จุลวรรค, มก. เล่ม 9 หน้า 316 สังฆเภทขันธกะ, พระวินัยปิฎก จุลวรรค, มก. เล่ม 9 หน้า 300 บ ท ที 4 ก ร ร ม ห ม ว ด ที่ 2 ก ร ร ม ใ ห้ ผล ตามลำดับ DOU 83
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More