ความเบื่อหน่ายของพระราชาและอาสันนกรรม GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 97
หน้าที่ 97 / 214

สรุปเนื้อหา

พระเจ้ากรุงพาราณสีทรงเกิดความเบื่อหน่ายหลังฟังพระธรรมเทศนาของพระปัจเจกพุทธเจ้า และมีการแสดงธรรมเกี่ยวกับโทษของกามซึ่งนำไปสู่การบำเพ็ญจริงจึงได้บรรลุฌานสมาบัติ. การกระทำนี้สร้างครุกรรมที่ดีไว้ ซึ่งต่อมาเมื่อพระองค์ละโลกก็ได้ไปบังเกิดที่พรหมโลก. นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงอาสันนกรรมซึ่งแบ่งออกเป็นฝ่ายกุศลกรรมและอกุศลกรรม โดยอาสันนกรรมนี้จะส่งผลก่อนกรรมอื่นในเวลาที่ใกล้ตาย, ไม่ว่าจะเป็นการกระทำดีหรือไม่ดี หนังสือดังกล่าวให้ข้อคิดเกี่ยวกับผลกรรมและการเตรียมใจในช่วงสุดท้ายของชีวิต.

หัวข้อประเด็น

-ความเบื่อหน่ายของพระราชา
-การแสดงธรรมของพระราชา
-อาสันนกรรม
-ผลของกรรม
-การบรรลุฌาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ราชาทรงเกิดความเบื่อหน่ายหลังจากที่ฟังพระธรรมเทศนาของพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว จึงเสด็จไปยืนอยู่ที่ พระทวารที่ประทับ แล้วถามถึงเหตุที่พระราชาทรงเกิดความเบื่อหน่าย พระราชาจึงแสดงธรรมแก่พระ อัครมเหสีเรื่องโทษของกาม เมื่อพระราชาแสดงธรรมจบแล้ว จึงเสด็จไปยังท้องพระโรง เพื่อยกราชสมบัติ ให้พวกอำมาตย์ดูแล แล้วเสด็จไปสู่ป่าหิมพานต์ ผนวชเป็นฤาษี เมื่อละโลกแล้วก็ไปบังเกิดบนพรหมโลก พระเจ้ากรุงพาราณสีทรงมีจิตเลื่อมใสในพระปัจเจกพุทธเจ้า หลังจากที่ฟังพระธรรมเทศนาแล้ว จึงเกิดความเบื่อหน่าย เพราะเห็นโทษของกาม ทำให้พระองค์ได้บำเพ็ญสมถกรรมฐานจนกระทั่งบรรลุ ฌานสมาบัติ ซึ่งการกระทำของพระเจ้าพาราณสีในครั้งนี้ถือได้ว่าทำครุกรรมฝ่ายกุศลกรรม จึงทำให้ ครุกรรมนี้มีกำลังมาก เมื่อพระเจ้ากรุงพาราณสีละโลกแล้ว ก็ไปบังเกิดบนพรหมโลก ด้วยผลแห่งครุกรรม ฝ่ายกุศลกรรมที่พระองค์ได้ทำเอาไว้ 4.2 อาสันนกรรม 4.2.1 ความหมายของอาสันนกรรม อาสันนกรรม หรือยทาสันนกรรม หมายถึง กุศลกรรมและอกุศลกรรมที่บุคคลได้กระทำไว้แล้ว ในเวลาใกล้จะตาย หรือการระลึกถึงกุศลกรรมและอกุศลกรรมในเวลาใกล้ตาย 4.2.2 ลักษณะของอาสันนกรรม อาสันนกรรมเป็นกรรมที่กระทำในเวลาใกล้จะตาย หรือกรรมที่ระลึกถึงในเวลาใกล้ตาย ซึ่งมี ลำดับการให้ผลเป็นที่ 2 รองจากครุกรรม หมายความว่า เมื่อสรรพสัตว์ที่เกิดในวัฏสงสารนี้ไม่ได้ทำ ครุกรรมอะไรทั้งในส่วนที่เป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมแล้ว อาสันนกรรมก็จะให้ผลเป็นลำดับแรกใน ภพชาติต่อไป หรือในกรณีที่ครุกรรมให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว อาสันนกรรมก็จะให้ผลในลำดับต่อมาทันที โดยแม้ว่าอาสันนกรรมจะมีเพียงเล็กน้อย แต่ก็จะให้ผลก่อนกรรมอื่นที่มากกว่า ซึ่งอาจจะเปรียบอาสันนกรรม นี้เหมือนกับฝูงโคที่อยู่ในคอก ในเวลาที่เจ้าของโคเปิดประตูคอก โคตัวใดที่อยู่ใกล้ประตูคอก แม้จะเป็นโคแก่ ไม่มีกำลัง โคตัวนั้นก็ย่อมจะออกจากคอกได้ก่อนตัวอื่น อาสันนกรรมก็เช่นกันแม้อกุศลกรรมหรือกุศลกรรม อย่างอื่นจะมีอยู่ แต่กรรมใดที่นึกได้ในเวลาที่ใกล้จะตาย กรรมนั้นย่อมส่งผลให้ก่อนกรรมอื่นเสมอ เพราะ ผู้ตายนึกถึงได้ก่อนที่จะตาย อาสันนกรรมแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คืออาสันนกรรมฝ่ายอกุศลกรรมและอาสันนกรรมฝ่ายกุศลกรรม อาสันนกรรมฝ่ายอกุศลกรรมจะชักนำผู้กระทำให้ไปเกิดในทุคติภูมิหลังจากที่ละโลกไปแล้ว ส่วนอาสันนกรรม ฝ่ายกุศลกรรมก็จะชักนำผู้กระทำให้ไปบังเกิดในสุคติภูมิหลังจากที่ละโลกไปแล้ว บ ท ที่ 4 ก ร ร ม ห ม ว ด ที่ 2 ก ร ร ม ใ ห้ ผล ตามลำดับ DOU 87
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More