การศึกษาเกี่ยวกับกรรมและสุขภาพ GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 165
หน้าที่ 165 / 214

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอกรณีศึกษาหญิงสามคนที่ประสบปัญหาสุขภาพต่างๆ สาเหตุของโรคแต่ละรายมีความเชื่อมโยงกับกรรมในอดีตชาติ โดยยกตัวอย่างเรื่องราวของผู้หญิงที่มีโรคสมองฝ่อ โรคคัน และโรคหัวใจรั่ว ซึ่งล้วนมีพฤติกรรมในอดีตเป็นปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพในปัจจุบัน รวมถึงข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำบุญและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อการมีสุขภาพดี และพบว่าแม้แต่สิ่งแวดล้อมที่ดีและการสนับสนุนจากครอบครัวก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงกรรมที่ต้องได้รับผลจากความประพฤติในอดีต เป็นการศึกษาที่สะท้อนให้เห็นถึงการเชื่อมโยงระหว่างกรรมและสุขภาพที่สำคัญ

หัวข้อประเด็น

-กรรมวาจา
-สุขภาพและกรรม
-ตัวอย่างกรณีศึกษา
-การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
-ความสัมพันธ์ระหว่างอดีตและปัจจุบัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สาเหตุที่หญิงผู้นี้เป็นโรคสมองฝ่อ เพราะกรรมในอดีตชาติมีอาชีพค้าขาย จึงมักจะโกหกลูกค้า เป็นประจำ ส่วนที่พูดไม่ได้ แขนและขาขวาใช้งานไม่ได้ เพราะกรรมในอดีตชาติเคยเกิดในสังคมเกษตรกรรม ได้เลี้ยงหมูไว้ขายให้เขาฆ่าเป็นจำนวนมาก และจับหมูมัดขามัดปากเพื่อส่งขาย ปิสุณาวาจา (พูดส่อเสียด) เจตนาของผู้มีจิตเศร้าหมองพยายามกระทำหรือพูดเพื่อต้องการให้คนอื่นมารักตนหรือเพื่อต้องการ ทำลายให้คนอื่นเกิดความแตกแยก ชื่อว่า ปิสุณาวาจา กรณีศึกษาในเรื่องของกรรมปิสุณาวาจา กรณีศึกษาที่ 1 (วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2546) หญิงคนหนึ่งมีความเชื่อมั่นในเรื่องบุญมาก จึงตั้งใจสร้างบุญและทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้กับทุกคน แต่เธอก็มีโรคประจำตัว คือ โรคคันและลมพิษ ซึ่งสร้างความรำคาญให้กับเธอมาก สาเหตุที่หญิงผู้นี้เป็นโรคคันและลมพิษ เพราะวจีกรรมในอดีตชาติที่เกิดเป็นผู้หญิง ชอบพูด ทำร้ายจิตใจคนอื่น และถ้าใครพูดไม่ถูกใจก็จะพูดย้อนไปให้เขาเจ็บใจ ประกอบกับในปัจจุบันที่ชอบอั้น ปัสสาวะและอุจจาระ กรณีศึกษาที่ 2 (วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2548) หญิงคนหนึ่งอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี มีพ่อแม่ญาติ พี่น้องเข้าใจและให้การสนับสนุนในการมาช่วยงานพระพุทธศาสนา ซึ่งเธอก็ได้ทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้กับ หมู่ญาติตลอดมา แต่เธอมีจุดด้อย คือ เป็นฝ้าที่ใบหน้า สาเหตุที่หญิงผู้นี้เป็นฝ้าที่ใบหน้าเพราะกรรมในอดีตชาติเคยเกิดเป็นทหารมักชอบพูดให้เขาเสียหน้า โดยการคัดค้านในที่ประชุม ทำให้บุคคลที่เสนอความเห็นรู้สึกเสียหน้า กรณีศึกษาที่ 3 (วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2547) หญิงคนหนึ่งมีชีวิตที่ลำบากตั้งแต่เล็กจนโต และ เป็นโรคหัวใจรั่ว ต้องถูกผ่าตัดหลายครั้ง แต่เมื่อเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลก็ได้ทำสมาธิไปด้วย ทำให้ อาการดีขึ้นจนหมอแปลกใจ หลังจากนั้นจึงเข้าวัดปฏิบัติธรรมเรื่อยมา สาเหตุที่หญิงผู้นี้เป็นโรคหัวใจ เพราะกรรมในอดีตชาติเคยเกิดในสังคมเกษตรกรรม ใช้วัวควาย ทำงานหนักเกินกำลัง และกรรมในอดีตชาติที่ชอบพูดให้คนเจ็บใจเป็นประจำ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ต้องถูก ผ่าตัดหลายครั้ง เพราะกรรมในอดีตชาติที่ฆ่าสัตว์ทำอาหาร กถาว่าด้วยวินัย มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม 2, (กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2532), หน้า 107 บ า ที่ 7 ก ร ณี ศึ ก ษ า เ รื่ อ ง ก า แ ห่ ง ก ร ร ม DOU 155
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More