ลักษณะของอุปปีฬกกรรม GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 72
หน้าที่ 72 / 214

สรุปเนื้อหา

ในบทความนี้กล่าวถึงอุปปีฬกกรรมที่มีผลตัดรอนผลกรรมอื่นและวิธีการที่มันส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ อาทิ กรณีศึกษาชายคนหนึ่งที่มีปฏิกิริยาต่อสามเณรซึ่งนำไปสู่อาการที่ส่งผลในชั้นภูมิชีวิตที่แท้จริงในอนาคต หลังจากที่เขาได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าและได้บำเพ็ญกรรมฐานจนสำเร็จด้วยเหตุนี้จึงสามารถมองเห็นภพภูมิได้ และเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา.

หัวข้อประเด็น

-ลักษณะของอุปปีฬกกรรม
-ผลกระทบของกรรม
-กรณีศึกษาจากพระไตรปิฎก
-การปฏิบัติธรรมและการพัฒนาจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3.3.2 ลักษณะของอุปปีฬกกรรม จากความหมายข้างต้นจะเห็นว่า อุปปีฬกกรรมจะคอยตัดรอนผลของกรรมอื่น แล้วให้ผลด้วยตนเอง โดยจะบีบคั้นเบียดเบียนชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรม เช่น ถ้าหากว่าชนกกรรมแต่งสัตว์ให้เกิดมาดี อุปัตถัมภกกรรมก็สนับสนุนให้สัตว์นั้นดียิ่งขึ้น เจริญยิ่งขึ้น แต่อุปปีฬกกรรมนี้จะทำหน้าที่บีบคั้นเบียดเบียน สัตว์นั้นให้ลำบากให้ตกต่ำ แต่หากว่าชนกกรรมแต่งสัตว์ให้เกิดมาไม่ดีและอุปัตถัมภกกรรมก็เข้าสนับสนุน ซ้ำเติมให้สัตว์นั้นตกต่ำ และลำบากยิ่งขึ้น ในขณะที่อุปปีฬกกรรมจะทำหน้าที่เป็นปฏิปักษ์กับชนกกรรมและ อุปัตถัมภกกรรม คือจะเข้าไปสนับสนุนช่วยเหลือสัตว์นั้นให้มีความสุขความเจริญ อุปปีฬกกรรมมีอยู่ 2 ฝ่ายเช่นกัน ถ้าเป็นอุปปีฬกกรรมฝ่ายอกุศลกรรม ก็ย่อมทำหน้าที่ เบียดเบียนทำร้ายความสุขความเจริญแก่เจ้าของกรรม แล้วบันดาลให้เขาได้รับความทุกข์ความเสื่อมอัน เป็นผลของตนต่อไป ดังเช่นกรณีศึกษาในเรื่องต่อไปนี้ 3.3.3 กรณีศึกษาจากพระไตรปิฎกฝ่ายอกุศลกรรม ไปอบายเพราะไม่มีโยนิโสมนสิการ ในอดีตกาล ชายคนหนึ่งมีบ้านอยู่ใกล้กับพระวิหารใกล้ค่ำวันหนึ่งชายผู้นี้อาบน้ำอยู่ที่ท่าน้ำหน้าบ้าน ของตน ขณะที่กำลังอาบน้ำอยู่นั้น มีสามเณรรูปหนึ่งพายเรือผ่านมา เขาเกิดความคะนองคิดจะแกล้ง สามเณรเล่น จึงเอามือวักน้ำสาดไปที่เรือ สามเณรเห็นเข้าจึงหลบกายเพื่อจะไม่ให้เปียกน้ำ ทำให้เรือเสียหลัก ล่มลง สามเณรกลัวตายจึงรีบว่ายน้ำเพื่อจะขึ้นฝั่ง ระหว่างว่ายไปก็ตะโกนด่าชายผู้นั้นด้วยคำหยาบ ชายผู้นั้นโกรธจึงเข้าไปตบที่หูสามเณร 2-3 ที แล้วช่วยพาสามเณรขึ้นสู่ฝั่ง ก่อนที่จะกลับบ้านด้วยอารมณ์ ขุ่นมัว ต่อมาชายผู้นั้นเสียชีวิตลงเมื่อละโลกแล้วเขาได้ท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารอยู่นาน จนกระทั่งมาถึงสมัยพุทธกาล เขามาเกิดเป็นมนุษย์ในตระกูลของเจ้าลิจฉวี มีนามว่า สุนักขัตตลิจฉวี เมื่อ เจริญวัยขึ้น ได้มีโอกาสฟังธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง จึงเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ขอบวชเป็นพระภิกษุจากพระพุทธองค์ เมื่อบวชแล้วได้ทูลขอกรรมฐานในส่วนที่เป็นสมถภาวนา โดยตั้งใจ ว่าจักบำเพ็ญให้บรรลุฌานก่อน จากนั้นจึงค่อยบำเพ็ญกรรมฐานในส่วนวิปัสสนาภาวนา เพื่อขจัด อาสวกิเลสสำเร็จเป็นพระอริยบุคคลในภายหลัง เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสบอกสมถภาวนากรรมฐานแล้ว ท่านก็ลงมือปฏิบัติ ในไม่ช้าก็ได้สำเร็จฌาน บรรลุทิพพจักขุอภิญญาภายในไม่กี่วัน เมื่อได้สำเร็จทิพพจักขุอภิญญา มีตาทิพย์สามารถมองเห็นภพภูมิต่างๆ แล้ว เกิดความดีใจ นึก เคารพเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอันมาก คิดจะปฏิบัติตามศาสนธรรมให้ถึงที่สุดจนกระทั่งบรรลุ *มหาลิสูตร, อรรถกถาทีฆนิกาย สีลขันธวรรค, มก. เล่ม 12 หน้า 106 62 DOU ก ก แ ห่ ง ก ร ร ม
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More