เรื่องราวของกรรมและการพัฒนาศรัทธาในพระพุทธศาสนา GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 175
หน้าที่ 175 / 214

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับชายหญิงที่มีประสบการณ์ชีวิตที่สอนให้เกิดความศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยเริ่มจากความเชื่อที่ต่างกันและความเข้าใจที่เปลี่ยนไป รวมถึงกุศลกรรมบถที่เป็นทางนำไปสู่สุคติ โดยนำเสนอถึงกรรมดีที่ควรทำเพื่อให้เกิดความสุขในชีวิต ซึ่ง ต้องการให้ผู้อ่านเข้าใจถึงความสำคัญของการทำบุญและการพัฒนาตนเองในทางพระพุทธศาสนา.

หัวข้อประเด็น

-การพัฒนาศรัทธา
-กุศลกรรมบถ
-ประสบการณ์ชีวิต
-ความสำคัญของกรรม
-การทำบุญในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

หอมรอบริบและเก็บเกี่ยวประสบการณ์ต่างๆ จนสามารถตั้งโรงงานเป็นของตัวเองได้ สาเหตุที่ชายผู้นี้มีชีวิตที่ลำบากตั้งแต่เด็ก เพราะกรรมในอดีตชาติเคยเกิดเป็นนักธุรกิจที่ประสบ ความสำเร็จมาก จึงมีทิฏฐิมานะมากและไม่เชื่อว่าทำบุญแล้วจะรวย แต่เชื่อว่าคนจะรวยอยู่ที่ความขยัน และความสามารถของตนเอง ภายหลังได้เจอกัลยาณมิตรอธิบายเรื่องความเป็นจริงของชีวิตที่เกิดมา ทำให้ เขาเกิดศรัทธาได้มาสร้างบุญในพระพุทธศาสนาอย่างเต็มกำลัง กรณีศึกษาที่ 5 (วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2547) หญิงคนหนึ่งนับถือความเชื่ออื่นที่ไม่ใช่พระพุทธ ศาสนา แต่เธอก็ไม่ค่อยได้ไปร่วมทำพิธีทางความเชื่อนั้น แต่กลับชอบไปร่วมกิจกรรมของศาสนาที่เน้น ความสุขและให้ความรักต่อมนุษย์และสรรพสัตว์ จนกระทั่งได้มาฝึกสมาธิ ทำให้เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนา มากขึ้น สาเหตุที่หญิงผู้นี้ต้องไปนับถือความเชื่ออื่นและไม่ได้เกิดในพระพุทธศาสนา เพราะกรรมในอดีต ชาติเคยนับถือพระพุทธศาสนา แต่ภายหลังได้เปลี่ยนไปนับถือความเชื่ออื่นเป็นเวลานาน แต่ด้วยบุญที่ทำ ไว้ในพระพุทธศาสนาจึงทำให้ได้กลับมาสร้างบุญในพระพุทธศาสนาอีก 7.2.2 กุศลกรรมบถ กุศลกรรมบถ หมายถึง ทางแห่งกรรมดีหรือทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล คือ กรรมดีอันเป็นทางนำไป สู่สุคติ' มีทั้งหมด 10 อย่าง คือ 1. ปาณาติปาตา เวรมณี คือ การเว้นจากทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง 2. อทินนาทานา เวรมณี คือ การเว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย 3. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี คือ การเว้นจากประพฤติผิดในกาม ทั้ง 3 อย่างนี้ จัดเป็นกายกรรม เพราะเป็นไปทางกายทวารโดยมาก 4. มุสาวาทา เวรมณี คือ การเว้นจากพูดเท็จ 5. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี คือ การเว้นจากพูดส่อเสียด 6. ผรุสาย วาจาย เวรมณี คือ การเว้นจากพูดคำหยาบ 7. สัมผัปปลาปา เวรมณี คือ การเว้นจากพูดเพ้อเจ้อ ทั้ง 4 อย่างนี้ จัดเป็นวจีกรรม เพราะเป็นไปทางวจีทวารโดยมาก นิทานสูตร, อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต, มก. เล่ม 36 ข้อ 310 หน้า 634 บ า ที่ 7 ก ร ณี ศึ ก ษ า เ รื่ อ ง ก า แ ห่ ง ก ร ร ม DOU 165
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More