ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 5
กรรมหมวดที่ 3 กรรมให้ผลตามกาลเวลา
ปัจจุบันคนในสังคมจำนวนไม่น้อยเริ่มไม่เชื่อว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” บางคนคิดว่า “ผลของ
กรรมไม่มี ตายแล้วไม่มีการเกิดอีก” เพราะคนเหล่านั้นไม่ได้ศึกษาพระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา
อย่างถ่องแท้ จึงมีความเห็นคล้อยตามคำกล่าวที่ว่า “คนทำชั่วได้ชั่วมีที่ไหน คนทำชั่วได้ดีมีถมไป
“ผลของกรรมไม่มี ตายแล้วสูญ” เมื่อมีความคิดและมีความเชื่อเช่นนี้ หลายคนจึงรู้สึกท้อแท้ที่จะทำความดี
แต่จากการศึกษาเนื้อหาในบทเรียนที่ผ่านมา นักศึกษาจะพบว่าเรื่องของกรรมมีความซับซ้อนมาก เพราะ
และลำดับในการให้ผลอย่างชัดเจนที่จะคอยให้ผลแก่ทุกคนที่กระทำ ไม่ว่าจะเป็นอกุศล
กรรมหรือกุศลกรรมก็ตามทั้งในอดีตชาติและในปัจจุบันชาติ ไม่มีใครสามารถหลบหนีไปได้ เนื่องจากจิต
เป็นสภาพที่สะสมกิเลสและกรรม และทำหน้าที่สืบทอดกรรมต่อไปเรื่อยๆ จนกว่ากรรมนั้นจะให้ผลเสร็จสิ้น
เช่น เมื่อเราแอบขโมยทรัพย์สินของผู้อื่นโดยไม่มีใครรู้เห็น เราอาจจะคิดว่ารอดตัวไป เพราะไม่มีใครจับได้
แต่ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่า จิตเป็นสภาพที่สืบทอดกิเลสและกรรม ดังนั้นกรรมที่เราได้กระทำไว้จึงไม่ได้
กรรมก็มีหน้าที่
สูญหายไปไหน แต่จะให้ผลของกรรมนั้นอย่างแน่นอน และเมื่อถึงเวลาที่กรรมให้ผลก็จะทำให้เราสูญเสีย
ทรัพย์สินโดยที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น เช่น ลงทุนทำอะไรก็ขาดทุนอยู่เสมอ หรือถูกปล้น ถูกลักขโมยทรัพย์สิน เป็นต้น
การศึกษาเรื่องของกรรมจะทำให้เราแน่ใจได้ว่า “กรรมนั้นจะให้ผลอย่างแน่นอน” ถึงแม้กรรม
นั้นอาจจะไม่ได้ให้ผลทันทีในชาติที่ทำอกุศลกรรม แต่อกุศลกรรมนั้นสามารถติดตามให้ผลข้ามภพชาติได้เพียง
แต่จะให้ผลเมื่อไรเท่านั้น เพราะชาตินี้เขายังมีปโยคสมบัติ ประกอบกับกุศลกรรมที่เคยกระทำมาใน อดีต
ชาติยังมีกำลังให้ผลอยู่ อกุศลกรรมที่กระทำใหม่นั้นก็ยังต้องรอโอกาสที่จะให้ผลไปก่อน ต่อเมื่อการให้
ผลของการกระทำกุศลกรรมของเขาหมดกำลังลงเขาย่อมได้รับผลของอกุศลกรรมนั้นแน่นอน ดังคำกล่าวที่ว่า
“คนที่ทำกรรมชั่วมักจะไม่เชื่อเรื่องการให้ผลของกรรมตราบใดที่กรรมชั่วนั้นไม่ให้ผลเนื่องจาก
ผลของกุศลกรรมเก่ายังให้ผลไม่หมด ทำให้ลำพองใจคิดว่าผลของกรรมชั่วไม่มี ชาติหน้าก็ไม่มี
ทำชั่วอย่างไรก็ไม่มีผล เพราะไม่เชื่อเรื่องเวียนว่ายตายเกิด ส่วนผู้ที่ทำกรรมดีก็ภาวนาให้กรรมดีที่ได้
กระทำนั้นให้ผลไวๆ เมื่อกรรมดียังไม่ให้ผล ก็เกิดความรู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง และคิดว่าผลของกรรมดี
ไม่มีอีกเช่นกัน”
ซึ่งคำกล่าวนี้เป็นไปตามพระพุทธพจน์ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
* ปโยคสมบัติ คือ การเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรในการประกอบหน้าที่การงาน
100 DOU ก ก แ ห่ ง ก ร ร ม