ข้อความต้นฉบับในหน้า
มโนกรรม หรือมโนทวาร หมายถึง การกระทำทางใจ เมื่อการกระทำทางใจดีจึงเรียกว่า
มโนสุจริต มี 3 ประการ คือ
1. อนภิชฌา ไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น
2. อัพยาบาท ไม่คิดปองร้ายเบียดเบียนผู้อื่น
3. สัมมาทิฏฐิ คิดถูกเห็นถูก
คำว่า เว้น ต่างกับคำว่า ละ อย่างไร ? เว้น หมายถึง เคยทำผิดแล้วไม่คิดจะทำอีกเด็ดขาด เช่น
เคยดื่มสุราของมึนเมา แต่เมื่อได้รู้โทษของมันแล้ว ตัดใจไม่เสพ ไม่ซื้อ และไม่ชักชวนคนอื่นให้ดื่มอีกอย่าง
เด็ดขาด ละ หมายถึง ไม่เคยทำผิดแล้วก็จะไม่ทำความผิดนั้น เช่น ไม่เคยดื่มสุรา แม้เพื่อนชวนให้ดื่มก็ไม่ดื่ม
เพราะรู้จักโทษของสุราเป็นอย่างดีจึงไม่จำเป็นต้องทดลอง
2. อกุศลกรรม หรือกรรมฝ่ายชั่ว หมายถึง การกระทำที่ผิดศีล ผิดธรรม เกิดบาปอกุศลทำให้จิต
เศร้าหมอง หรืออาจเรียกว่า อกุศลเจตนา เพราะตั้งใจทำชั่ว ทางที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่จัดเป็นกรรมชั่ว
หรือที่เรียกว่า อกุศลกรรมบถ 10 ประการ สามารถแบ่งออกตามทวารที่เกิดขึ้นทางกาย ทางวาจา และ
ทางใจ ได้ดังนี้
กายกรรม หรือกายทวาร หมายถึง การกระทำทางกาย เมื่อการกระทำทางกายชั่ว จึงเรียกว่า
กายทุจริต มี 3 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ
1. ปาณาติบาต การจงใจฆ่าสัตว์ที่ยังมีชีวิต
2. อทินนาทาน การจงใจลักขโมยของที่ผู้อื่นไม่ให้
3. กาเมสุมิจฉาจารา การจงใจประพฤติผิดในกาม
วจีกรรม หรือวจีทวาร หมายถึง การกระทำทางคำพูดที่ขาดการไตร่ตรองด้วยปัญญา เมื่อการกระทำ
ทางวาจาชั่ว จึงเรียกว่า วจีทุจริต มี 4 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ
1. มุสาวาท การจงใจพูดเท็จ คือ พูดโกหก หลอกลวง ต้มตุ๋น เป็นต้น
2. ปิสุณาวาจา การจงใจพูดส่อเสียด คือ คำพูดทำให้สูญเสียความเป็นที่รักใคร่ปรองดองกัน เช่น
ยุยงให้แตกแยก เหน็บแนม กระทบกระเทียบเสียดแทง คำสบประมาท พูดลับหลัง เป็นต้น เหล่านี้เป็น
คำพูดทำให้เกิดทิฏฐิมานะชิงดีชิงเด่น มุ่งเอาชนะกันและกัน
3. ผรุสวาจา การจงใจพูดคำหยาบคาย คือ พูดคำชนิดที่ค่อนขอด คำหยาบคาย คำเผ็ดร้อน
คำเหน็บแนมให้เจ็บใจ เหล่านี้ทำให้ผู้อื่นโกรธเคืองไม่ทำให้จิตตั้งมั่น
บ ท ที่ 1 ค ว า ม รู้เบื้ อ ง ต้ น เ รื่ อ ง ก า แ ห่ ง ก ร ร ม DOU 19