หลักกรรมในพระพุทธศาสนา GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 60
หน้าที่ 60 / 214

สรุปเนื้อหา

ในบทที่ 2 ของการศึกษาเรื่องหลักกรรมในพระพุทธศาสนา เริ่มต้นด้วยการชี้แจงว่า ทำดีย่อมได้รับผลดี และทำชั่วย่อมได้รับผลชั่ว ความสำคัญของหลักกรรมคือการเป็นสาเหตุที่ทำให้แตกต่างกันของคน ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎแห่งกรรมจะช่วยให้นักเรียนตระหนักถึงการทำกรรมดีเพื่ออนาคตที่ดี และในหัวข้อที่ 2.3 มุ่งเน้นการทำความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับผลของกรรม ซึ่งอาจมีความซับซ้อนห้ามรีบตัดสินใดๆ อ้างอิงจากความเข้าใจส่วนเดียว ในหัวข้อ 2.4 แสดงให้เห็นว่าการไม่เชื่อในหลักกรรมสามารถทำให้เกิดผลเสีย การดำเนินชีวิตตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะนำไปสู่ความสุข หากแม้ไร้ศาสนาหรือไม่เชื่อในกรรมก็ควรมุ่งมั่นทำความดีไปก่อน.

หัวข้อประเด็น

-หลักกรรมและกฎแห่งกรรม
-ความแตกต่างระหว่างสัตว์
-ซับซ้อนของผลกรรม
-คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-ทำความดีเพื่ออนาคต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ในหัวข้อ 2.1 เป็นเรื่องของหลักกรรมที่เป็นหัวใจของกฎแห่งกรรม ในเมื่อหลักกรรมกล่าวไว้ว่า ทำดีย่อมได้รับผลดี ทำชั่วย่อมได้รับผลชั่ว คำกล่าวนี้ย่อมเป็นจริงเสมอ จะส่งผลช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับ เวลาและการกระทำในปัจจุบันส่งเสริมสนับสนุน นักศึกษาควรยึดมั่นในหลักกรรม และนำไปใช้ในการ ดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง ในหัวข้อ 2.2 ชี้ให้เห็นความสำคัญของกฎแห่งกรรมว่า เป็นตัวจำแนกความแตกต่างของสัตว์ทั้ง หลาย มีมนุษย์เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุด ในหัวข้อนี้จะตอบคำถามของคนที่มักจะสงสัยหรือสับสนว่า ทำไมเราแตกต่างจากคนอื่น และก็คงได้ข้อสรุปว่า เพราะกรรมที่กระทำมาในอดีตส่งผลให้เป็นเราในปัจจุบันนี้ และทำให้ได้ข้อคิดต่อไปอีกว่า ควรจะประกอบกรรมดี เพื่อจะได้เกิดความสมบูรณ์ในอนาคต และสามารถ ออกแบบชีวิตของเราในอนาคตได้ด้วยการกระทำของเราในปัจจุบัน ส่วนในหัวข้อ 2.3 ต้องการชี้ให้เห็นความซับซ้อนของการให้ผลของกรรม ที่มีคนบางส่วนมักจะ เข้าใจผิดหลักกฎแห่งกรรมว่า ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป เมื่อนักศึกษาได้เรียนรู้ในหัวข้อนี้แล้วจะ ได้เข้าใจว่า การให้ผลของกรรมนั้นเป็นเรื่องซับซ้อน ดังนั้นอย่าด่วนสรุปว่า หลักกรรมไม่ถูกต้อง แล้วนำ มาตัดพ้อตัวเอง เพื่อไม่ทำความดี หันกลับไปทำความชั่ว ซึ่งอันตรายต่อการดำเนินชีวิต แม้ขนาดว่าคนมี ตาทิพย์ ยังเห็นเรื่องราวกฎแห่งกรรมแตกต่างกัน และเข้าใจเรื่องการให้ผลของกรรมไม่ถูกต้อง เพราะว่า เห็นไม่ครบวงจร เห็นเป็นบางส่วน แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นไปถึงต้นเหตุ จึงทรงนำมาถ่ายทอดได้ อย่างถูกต้อง ดังนั้นควรยึดมั่นในหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และในหัวข้อ 2.4 มีวัตถุประสงค์ที่อยากจะชี้ให้เห็นว่า การไม่เชื่อในกฎแห่งกรรม ย่อมจะได้รับ ผลเสียมากกว่าผลดี ดังนั้นแม้ไม่มีความเชื่อทางศาสนา หรือไม่มีความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม อย่างน้อยก็ ควรจะมีหลักในการพิจารณาเพื่อการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องตามหลักที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำไว้ ก็จะทำให้ดำเนินชีวิตในปัจจุบันได้อย่างมีความสุข หรือยิ่งถ้าหากตายไปแล้ว มีโลกหน้าจริงก็จะได้ปลอดภัย คือ จะเชื่อหรือไม่เชื่อ ก็ให้ทำความดีเพื่อเหนียวไว้ก่อน กิจกรรม หลังจากนักศึกษาได้ศึกษา บทที่ 2 หลักกรรมของพระพุทธศาสนา จบโดยสมบูรณ์แล้ว โปรดทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 2 และกิจกรรมตอนที่ 2.1, 2.2 ในแบบฝึกปฏิบัติบทที่ 2 แล้วจึงศึกษาบทที่ 3 ต่อไป 50 DOU ก ฏ แ ห่ ง ก ร ร ม
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More