ข้อความต้นฉบับในหน้า
การตั้งเป้าหมายชีวิตเช่นนี้ เป็นการตั้งเป้าหมายชีวิตที่แคบ สั้น และเสี่ยงอันตราย เป็นความคิด
ที่อยู่บนพื้นฐานของความประมาท ไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับชีวิตหลังความตาย เพราะในเวลาใกล้ตายจะ
มีภาพเหตุการณ์แสดงสิ่งที่ตนเองได้ทำเอาไว้ตลอดชีวิต มาปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนในมรณาสันนวิถีจิตที่
ใกล้จะตาย ภาพเหตุการณ์เหล่านี้จะเป็นเครื่องบอกล่วงหน้าให้รู้ว่า จักได้ไปสู่สุคติหรือทุคติ ภาพเหตุการณ์
นี้เรียกว่า คตินิมิตตารมณ์ อันบ่งบอกถึงคติที่จะไปหลังจากตายไป ดังเช่นที่พระนาคเสนตอบปัญหาของ
พระเจ้ามิลินท์ว่า
“เปรียบบุญกุศลเหมือนเรือ บาปกรรมเหมือนศิลา คนที่กระทำบาปอยู่เสมอจนตลอดชีวิต
ถ้าเวลาจะตายมิได้ปล่อยจิตใจให้ตามระทมถึงบาปที่ตัวทำมา แต่หลังจากนั้น สามารถประคองใจไว้
ในแนวแห่งกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งเช่นอาจทำใจให้แน่วอยู่เฉพาะแต่ในพระคุณของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
ถ้าตายลงในขณะแห่งจิตดวงนั้น ก็เป็นอันหวังได้ว่าไปสุคติ ประหนึ่งศิลาซึ่งมีเรือทานน้ำหนักไว้ มิให้
จมลงฉะนั้น ส่วนผู้ที่กระทำบาปที่สุดแต่ครั้งเดียว ถ้าเวลาใกล้จะดับจิต เพียงแต่จิตหวนไปพัวพันถึง
กิริยาอาการที่ตัวกระทำบาปที่สุดแต่ครั้งเดียว ถ้าเวลาใกล้จะดับจิต เพียงแต่จิตหวนไปพัวพันถึง
กิริยาอาการที่ตัวกระทำบาปกรรมไว้เท่านั้น จิตดวงนั้นก็หนักพอที่จะถ่วงตัวให้ไปเกิดในนรก ซึ่ง
เหมือนศิลาที่เราโยนลงไปในน้ำ แม้จะก้อนเล็กก็คงจมเช่นเดียวกัน”
ดังนั้น เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นอัตภาพที่สามารถสร้างบุญกุศลได้อย่างเต็มที่ จึงควรที่จะเร่ง
สร้างบุญสร้างบารมีก่อนที่จะตายจากโลกนี้ไป บุคคลใดก็ตามที่เคยทำอกุศลกรรมมาแล้วในอดีตก็ขอให้ลืม
ไปให้หมด เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ ส่วนเรื่องอนาคตยังมาไม่ถึงก็อย่าไปวิตกกังวล
พึงทุ่มชีวิตทำวันนี้ให้ดีที่สุดด้วยการละบาปอกุศลกรรม สร้างแต่กุศลกรรม และทำใจให้ผ่องใสอยู่เนืองนิตย์
อย่าได้ลังเลสงสัยอยู่ด้วยความประมาทก่อนที่จะตายจากโลกนี้ไป เพราะถ้าตายไปแล้วก็จะไม่มีโอกาสที่จะ
ย้อนกลับมาสร้างกุศลกรรมได้อีก และเมื่อตายไปแล้วย่อมไม่มีใครสามารถที่จะมาช่วยเหลือเราได้เลย
นอกจากกุศลกรรมและอกุศลกรรมที่ตนเองได้กระทำไว้เท่านั้นที่จะนำพาให้ไปสู่สุคติภูมิหรือทุคติภูมิ ดังที่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
“ปาณิมหิ เจ วโณ นาสุส เรยย ปาณินา วิส
นาฬพณ์ วิสมเนวติ
นตฺถิ ปาง อกุพฺพโต”
ถ้าแผลไม่พึงมีในฝ่ามือไซร้ บุคคลพึงนำยาพิษไปด้วย
ฝ่ามือได้ เพราะยาพิษย่อมไม่ซึมเข้าไปสู่ฝ่ามือที่ไม่มีแผล ฉันใด
บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำอยู่ ฉันนั้น
1 ปุ๋ย แสงฉาย, อัสสสตปัญหาที่ 2 มิลินทปัญหา, (กรุงเทพฯ : ลูก ส. ธรรมภักดี, 2528), หน้า 127
* รายละเอียดเรื่องมนุสสภูมิได้อธิบายไว้แล้วในเนื้อหาวิชาจักรวาลวิทยาและวิชาปรโลกวิทยา
* เรื่องนายพรานกุกกุฏมิตร, อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท, มก. เล่ม 42 หน้า 36
บ า ที่ 7 ก ร ณี ศึ ก ษ า เ รื่ อ ง ก า แ ห่ ง ก ร ร ม
DOU 175