ข้อความต้นฉบับในหน้า
1.2.6 กรรมอยู่ที่ไหน
จากพุทธภาษิตที่ว่า “บุคคลหว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดีย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรม
ชั่วย่อมได้ผลชั่ว” ทำให้เราเกิดความสงสัยว่ากรรมดีกรรมชั่วที่ทำไปแล้วอยู่ที่ไหน จะลองเปรียบเทียบจาก
อุปมาของพระพุทธองค์ที่ตรัสไว้ สมมติว่า ชาวนาปลูกข้าวสาลีต้นหนึ่ง ต้นข้าวสาลีก็ค่อยๆ เจริญเติบโตขึ้น
โดยดูดซึมสารอาหารแร่ธาตุจากปุ๋ย น้ำ ดิน อากาศ ลำต้นทำหน้าที่ดูดซึมส่งอาหารไปหล่อเลี้ยงลำต้นทั้งหมด
และทำให้เกิดเมล็ดผลข้าวซึ่งอุดมไปด้วยโอชะต่างๆ พร้อมที่จะนำมาบริโภคและใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ต่อไป
จวบถึงวันเก็บเกี่ยวข้าว ชาวนาคัดเลือกเอาเมล็ดข้าวไปขาย ส่วนหนึ่งก็เอามาทำเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวก่อเกิด
เป็นต้นข้าวสาลีต่อๆ ไป เปรียบเทียบกับหมู่สัตว์ที่ประกอบด้วยรูปกายกับจิตวิญญาณ รูปกายเปรียบเหมือน
ลำต้นที่นำเอาสารอาหารทุกอย่างรอบข้างมาหล่อเลี้ยง จิตเปรียบเหมือนเมล็ดพันธุ์ที่คอยเก็บสารอาหารที่
ลำต้นส่งมา ฉะนั้นรูปกายจึงเป็นอุปกรณ์ของจิตที่ใช้สร้างกรรมที่ผ่านมาจากการกระทำทางกาย ทางวาจา
และทางใจ แล้วทุกการกระทำจะถูกบันทึกไว้ที่จิต เพราะธรรมชาติจิตนั้นบริสุทธิ์ผุดผ่อง" เหมือนผ้าขาว
เอาสีอะไรมาแต้มก็จะติดสีนั้นไปโดยปริยาย ดังนั้นกรรมทั้งหลายจึงถูกเก็บสั่งสมรวมที่จิตวิญญาณ ถามว่า
จิตนั้นใหญ่มากถึงขนาดเก็บได้หมดเลยหรือ อันนี้เปรียบเหมือนกระจกส่องเงาที่สามารถฉายภาพที่มา
กระทบได้ทั้งหมดทุกรายละเอียดปลีกย่อย จิตจึงเหมือนยุ้งฉางที่เก็บเมล็ดพันธุ์คือเชื้อกรรมทั้งหมด ทำ
หน้าที่เผล็ดผลแห่งกรรมทั้งในชาตินี้ ชาติหน้า และชาติต่อๆ ไป กรรมประดุจเงาติดตามเจ้าของไปทุกที่
ทุกสถานทุกกาลเวลา
1.2.7 สาเหตุการเกิดกรรม
ดังที่ทราบว่าวัฏสงสารเกิดเพราะหมู่สัตว์มีเชื้อแห่งกิเลสปรุงแต่ง ทำให้เกิดกุศลธรรมอกุศลธรรม
ครอบงำการกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจ พระพุทธองค์ตรัสถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดกรรม โดยแบ่งเป็น
2 ฝ่าย ได้แก่
1) สาเหตุการเกิดกรรมฝ่ายชั่ว
* โลภะ ความอยากได้ของผู้อื่น
* โทสะ ความประทุษร้ายใจ โดยแสดงออกในลักษณะรุนแรง เช่น ความพยาบาท ความ
โกรธ ความขุ่นเคือง ไม่ถูกใจ ไม่พอใจ คับแค้นใจ เจ็บใจ
* โมหะ
ความหลงผิด เช่น ความเห็นผิดเป็นชอบ การผูกโกรธผู้อื่น
กายคตาสติสูตร, มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่ม 22 ข้อ 306 หน้า 393
นิทานสูตร, อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต, มก. เล่ม 34 ข้อ 473 หน้า 118
22 DOU กฎ แ ห่ ง ก ร ร ม