ข้อความต้นฉบับในหน้า
หลังจากบวชในบวรพระพุทธศาสนาได้ไม่นาน ก็ได้รับคำแนะนำจากพระเรวตเถระให้ไปประเทศศรีลังกา เพื่อ
แปลอรรถกถาพระไตรปิฎกฉบับภาษาสิงหลเป็นภาษามคธ ท่านถูกพระสังฆปาลมหาเถระชาวศรีลังกา
ทดสอบความรู้ทางพระพุทธศาสนาโดยให้แต่งอธิบายคาถา 2 บท
(สีเล ปติฏฺฐาย นโร สปญฺโญ จิตต์ ปญฺญญฺจ ภาว
อาตาปี นิปโก ภิกขุ
โส อิม วิชฏเย ชฏ
นรชนผู้มีปัญญา เป็นภิกษุมีความเพียรมีสติปัญญาเครื่องบริหาร ตั้งตนในศีลแล้ว
ทำสมาธิจิต และปัญญาให้เจริญอยู่ เธอจึงถางรกชัฏนี้เสียได้)
และด้วยคาถา 2 บทนี้ จึงเกิดคัมภีร์วิสุทธิมรรค อันเป็นตำราสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่
อธิบายเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา อย่างละเอียด ซึ่งในตำราเล่มนี้ท่านได้จัดโครงสร้างภาพรวมของกรรม โดย
จำแนกกรรมทั้ง 12 ประการ จัดเป็นหมวดหมู่ 3 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1 กรรมให้ผลตามกาล มี 4 อย่าง คือ
1) ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในปัจจุบันชาติ
2) อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติหน้า
3) อปรูปริยายเวทนียกรรม หรืออปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติต่อๆ ไป
4) อโหสิกรรม คือ กรรมเลิกให้ผล หรือไม่ได้โอกาสให้ผล
ประเภทที่ 2 กรรมให้ผลตามลำดับกำลัง มี 4 อย่าง คือ
1) ครุกรรม หรือครุกกรรม กรรมหนัก
2) อาจิณณกรรม หรือพหุลกรรม กรรมทำบ่อยจนเสพคุ้น
3) อาสันนกรรม หรือยทาสันนกรรม กรรมใกล้ตาย
4) กตัตตากรรม หรือกฏตตาวาปนกรรม กรรมสักแต่ว่าทำ หมายถึง กรรมทำไปโดยไม่รู้
ประเภทที่ 3 กรรมให้ผลตามหน้าที่ มี 4 อย่าง คือ
1) ชนกกรรม กรรมทำหน้าที่นำไปเกิด
2) อุปัตถัมภกกรรม กรรมทำหน้าที่สนับสนุน
3) อุปปีฬกกรรม กรรมทำหน้าที่บีบคั้น
4) อุปฆาตกกรรม กรรมทำหน้าที่ตัดรอน
ชฎาสูตร, สังยุตตนิกาย สคาถวรรค, มก. เล่ม 24 ข้อ 61 หน้า 128
ปรีชา คุณาวุฒิ, พุทธปรัชญาเรื่องกรรมและการให้ผลของกรรม, วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 2521)
26 DOU กฎ แ ห่ ง ก ร ร ม