ข้อความต้นฉบับในหน้า
กรณีศึกษาที่ 4 (วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2547) ชายคนหนึ่งกำพร้าพ่อแม่ตั้งแต่เด็ก พี่สาวจึง
พาไปฝากไว้ที่โรงเจ ซึ่งเจ้าสำนักที่นั้นก็ได้ส่งให้เรียน แต่ว่าเรียนเท่าไรก็ไม่สามารถอ่านและเขียนหนังสือได้
ภายหลังจึงเลิกเรียน และไปทำธุรกิจส่วนตัวหลายอย่าง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จทุกอย่าง จึงได้ไปเป็น
คนเชียร์แขกที่โรงแรมม่านรูด แต่ก็ถูกตำรวจจับดำเนินคดี ทำให้เมื่อรอดพ้นจากคดีได้จึงเลิกอาชีพนี้
สาเหตุที่ชายผู้นี้ไม่สามารถอ่านและเขียนหนังสือได้ ทั้งที่มีโอกาสเล่าเรียน เพราะกรรมในอดีต
ชาติเคยเกิดเป็นคนเรียนเก่ง จึงมักจะพูดดูถูกเพื่อนที่เรียนด้วยกันว่า “โง่” ทำให้เพื่อนได้รับความอับอาย
เป็นประจํา
กรณีศึกษาที่ 5 (วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2546) ชายคนหนึ่งเคยบวชเรียน ภายหลังลาสิกขามา
เข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยจนจบ แล้วมาเป็นทนายที่ซื่อสัตย์ ฐานะจึงค่อนข้างจะยากจน เลี้ยงดูลูก
และครอบครัวด้วยความสุขตามอัตภาพ ในบั้นปลายของชีวิตเขาตายด้วยโรคมะเร็งในปาก
สาเหตุที่ชายผู้นี้ตายด้วยโรคมะเร็งในปาก เพราะกรรมในอดีตชาติเคยเกิดเป็นกุลบุตรในตระกูล
ที่มีฐานะปานกลาง แต่มีนิสัยมักโกรธจะชอบเถียงและด่าพ่อแม่ และถ้าใครที่พูดทำให้ไม่พอใจก็จะด่า
ตั้งแต่ตัวเขาจนถึงบรรพบุรุษของเขา ประกอบกับกรรมในปัจจุบันที่ชอบวิพากษ์วิจารณ์ด่าว่าพระเถระผู้ใหญ่
ตั้งแต่ยังบวชอยู่ และกรรมดื่มสุรา ดูดยาเส้นตามสมัยนิยม
ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ)
เจตนาแผ่ไปเผาผลาญจิตของผู้ฟัง ชื่อว่า ผรุสวาจา เจตนาเป็นเหตุประทุษร้าย ก่อให้เกิดความ
พยายามทางกายและทางวาจา อันเป็นเหตุทำลายไมตรีของผู้อื่น ชื่อว่า ผรุสวาจา อีกอย่างหนึ่ง เจตนาใน
การพูดเพื่อมุ่งทำลายจิตใจของผู้ฟัง ชื่อว่า ผรุสวาจา
กรณีศึกษาในเรื่องของกรรมผรุสวาจา
กรณีศึกษาที่ 1 (วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2547) หญิงคนหนึ่งเป็นคนอารมณ์ร้อน ขี้โมโห และมี
สุขภาพไม่ดี มีโรคประจำตัว คือ โรคความดันและมีอาการคันทั้งตัวที่เกิดจากการให้ยาผิดของลูกน้องหมอ
ซึ่งอาการคันนี้ภายหลังได้กลายเป็นแผลพุพองมีลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวกทำให้ปวดแสบปวดร้อนไปทั้งตัว
สาเหตุที่หญิงผู้นี้มีสุขภาพไม่ดีเป็นโรคความดันและมีอาการคันจนกลายเป็นแผลพุพอง เพราะกรรม
ในอดีตชาติเวลาโกรธมักจะด่าว่าให้เจ็บใจทั้งต่อหน้าและลับหลัง ส่วนสาเหตุที่ทำให้ปวดแสบปวดร้อน
คล้ายน้ำร้อนลวก เพราะกรรมในอดีตชาติเคยต้มสัตว์ทั้งเป็น เพื่อความอร่อยในการทำอาหาร
กถาว่าด้วยวินัย มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม 2, (กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2532), หน้า 109
156 DOU ก ก แ ห่ ง ก ร ร ม