ข้อความต้นฉบับในหน้า
การล้างบาปได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นว่า พระพุทธองค์มิได้ทรงใช้คำว่า ล้างบาปโดยตรง หากแต่คำสอนของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีความหมายในลักษณะของการล้างบาปอยู่แล้ว และจุดหมายปลายทางของการ
ล้างบาปโดยนัยของพระพุทธศาสนาก็เพื่อกำจัดกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นไปจากใจ
6.2.5 การทำบุญละลายบาป
ก่อนที่จะศึกษาเรื่องการล้างบาปในหัวข้อต่อไป ในหัวข้อนี้อยากจะชี้ประเด็นสำคัญในเรื่องของ
การทำบุญละลายบาป ซึ่งมีการกล่าวถึงกันมากในหนังสือหลายเล่ม ที่เกี่ยวกับเรื่องกฎแห่งกรรม เพราะ
โดยทั่วไปแล้วจะเข้าใจว่า บาปที่เกิดจากการทำชั่ว มีผลเป็นวิบากแล้วนั้นไม่สามารถล้างได้ จึงเชื่อว่าบาป
ล้างไม่ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะหมายถึงบาปในลักษณะที่เป็นผล แต่ในกรณีของวิชากฎแห่งกรรมนั้น
มิได้หมายถึงบาปในลักษณะดังกล่าวนั้น แต่หมายถึงการกำจัดกิเลสตัวก่อให้เกิดบาปอันเป็นความหมายใน
ลักษณะที่เป็นเหตุ ซึ่งนักศึกษาจะได้มีความเข้าใจที่ตรงกัน
อย่างที่ทราบกันดีแล้วว่า แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงสอนให้คนละชั่ว ทำดี ทำจิตให้ผ่องใส
เพื่อการกำจัดกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นไป แต่ในการดำเนินชีวิตจริงของบุคคลทั่วไปไม่ได้ทำความดีแต่เพียง
อย่างเดียวได้ตลอด แต่มักจะทำความดีในความชั่วสลับกันไป ดังนั้นเวลากรรมส่งผล ก็จะส่งผลไม่ต่อเนื่อง
จะส่งผลสลับปรับเปลี่ยนกันระหว่างบุญกับบาป ตามการกระทำของแต่ละบุคคล บางครั้งบางคนกำลัง
เจริญก้าวหน้าในชีวิต แต่บาปก็มาตัดรอนให้ชีวิตพบอุปสรรคแบบทันด่วน ทำให้เกิดคำถามที่กล่าวถึงกัน
มากนอกจากคำถามเรื่องการล้างบาป ในกรณีที่ทำความชั่วมากกว่าความดี คือ นึกถึงความดีไม่ค่อยออก
จะมีวิธีแก้ไขอย่างไร เพื่อให้ชีวิตดำเนินไปได้อย่างมีความสุข เพราะบาปที่ทำไปแล้วไม่สามารถล้างได้ แม้
จะยังไม่สามารถทำความดีให้ยิ่งยวดที่จัดอยู่ในขั้นล้างบาปได้ก็ตาม
โดยปรกติพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้ทำดีอย่างต่อเนื่อง จนความดีเต็มเปี่ยมสามารถกำจัด
กิเลสตัวก่อบาปให้หมดสิ้นไปได้ จึงจะได้ชื่อว่าสิ้นสุดกิจของการเกิดมาเป็นมนุษย์ เพราะฉะนั้นวิธีแก้ไข
บาปอกุศลที่ได้กระทำไปแล้วตามหลักพระพุทธศาสนา คือ ประการแรก ต้องเห็นโทษของบาปกรรมนั้น แล้ว
ยอมรับผิดเสียก่อน และตั้งใจว่าจะไม่ทำผิดอย่างนั้นอีก วิธีการแก้ไขต่อไป คือ ต้องฝึกทำความดีให้มากขึ้น
เพื่อให้คุ้นกับการทำความดีกระทั่งมีบุญมาก ทำให้ผลแห่งกรรมชั่วตามส่งผลไม่ทัน ดังที่ผู้รู้ในทางพระพุทธ
ศาสนา ใช้คำว่า การละลายบาป แม้ยังล้างบาปตามนัยของพระพุทธศาสนาดังที่กล่าวมาแล้วได้ไม่หมด
แต่สามารถละลายบาปให้เจือจางได้ เพราะหากไม่ทำดีให้ยิ่งขึ้นไปแล้ว โอกาสที่บาปจะส่งผลก็มีมาก เมื่อ
บาปส่งผลแล้วจะให้ทำความดีได้อย่างเต็มที่ก็เป็นเรื่องยาก วิธีการละลายบาปนี้ มีกล่าวไว้ใน โลณกสูตร ว่า
1 โลณกสูตร, อังคุตรนิกาย ติกนิบาต, มก. เล่ม 34 หน้า 492
บ ท ที่ 6 ท ร ร ศ น ะ เ รื่ อ ง ก า ร ล า ง บ า ง ใ น พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า DOU 133